For English please scroll down or Click here

รูปแบบและรายละเอียดต้นฉบับ สำหรับผู้ตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องงานประชุม (Proceedings)

แนวปฏิบัติการนำเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

  1. หากกองบรรณาธิการตรวจพบข้อผิดพลาด หรือ ความไม่สมบูรณ์ในรูปแบบของบทความ บทความนั้นจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียน เพื่อทำการแก้ไขบทความ ในกรณีที่จัดเตรียมถูกต้องตามระเบียบการตีพิมพ์และมีความสมบูรณ์ของรูปแบบจะถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาคุณค่าและความสมบูรณ์ของเนื้อหาบทความดังกล่าวต่อไป
  2. ประเภทของบทความ บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนืองจากงานประชุม เป็นบทความที่มีลักษณะเกี่ยวกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
    • บทความทางวิชาการโดยทั่วไป เป็นบทความทางวิชาการที่นำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย ความนำ เนื้อเรื่อง ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประเด็นย่อย และบทสรุป ความยาวไม่เกิน 25 หน้า
    • บทความวิจัย เป็นบทความที่เกิดจากการวิจัยของผู้เขียนหรือสมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐานของงานวิจัย ขอบเขตที่ครอบคลุมในการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย (ประกอบด้วยข้อมูลประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ ในกรณีงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรมวิจารณ์หรือวรรณคดีเปรียบเทียบ ตลอดจนสาขาวิชาในด้านมนุษยศาสตร์อื่นๆ จะต้องระบุวิธีการวิจัยอันสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของตนอย่างชัดเจน) ผลการวิจัย (สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ) ความยาวไม่เกิน 25 หน้า
  3. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) หรือ วารสาร​ อื่น
  4. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิอ่านทบทวนบทความ (Peer Review)

รายละเอียดต้นฉบับ

  1. ต้องระบุชื่อบทความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ขนาดความยาวของเนื้อหารวมอ้างอิงไม่ควรเกิน 30 หน้า (หรือ 8,000 คำในกรณีบทความภาษาอังกฤษ) พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word (กรุณาใช้ฟอนต์ Browallia New, ขนาด 16 points และใช้ตัวเลขอารบิก)
  3. บทความต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ระหว่าง 100-150 คำ) คำสำคัญไม่เกิน 5 คำ และประวัติผู้เขียน (ไม่เกิน 100 คำ)
  4. การเขียนอ้างอิงให้ใช้แบบแทรกในเนื้อหา (parenthetical in-text citation) และใช้รูปแบบนาม-ปี (author-date formatting) ตามที่กำหนดไว้ในบทที่ 15 ของ The Chicago Manual of Style, 17th edition (Chicago: University of Chicago Press, 2017) หรือ www.chicagomanualofstyle.org โดยให้ระบุเฉพาะนามสกุลในกรณีเอกสารที่เขียนโดยชาวต่างชาติ และระบุเฉพาะชื่อในกรณีเอกสารที่เขียนโดยชาวไทย ยกเว้นกรณีที่มีเอกสารของผู้เขียนชื่อเดียวกันซ้ำในรายการอ้างอิง ทั้งนี้อาจดูตัวอย่างการอ้างอิงได้จาก The Journal of Asian Studies ของสมาคมเอเชียศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา (Association for Asian Studies - AAS) ดังที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์เค็มบริดจ์ www.cambridge.org/core/journals/journal-of-asian-studies
  5. ในกรณีที่บทความมีการถอดเสียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ให้ผู้เขียนยึดหลักเกณฑ์การถอดเสียงจากราชบัณฑิตยสถาน
  6. รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิ ให้บันทึกเป็นไฟล์ภาพ (bitmap, png, jpg) แยกต่างหาก เพื่อคุณภาพของภาพในการพิมพ์ ควรมีค่าความละเอียด 300 DPI หรือ ความละเอียดขั้นต่ำ 1024x768 (786,432 px) โดยแยกบันทึกไฟล์ ที่เป็นคำอธิบาย (caption) ของแต่ละภาพออกมาต่างหาก
  7. รูปภาพ ตาราง และแผนภูมิ ที่ใช้ประกอบในบทความ ต้องเป็นภาพที่ผู้เขียนบทความสร้างสรรค์ขึ้นเอง หรือเป็นภาพที่ไม่มีลิขสิทธิ์ การนำรูปภาพ ตาราง แผนภูมิมาใช้โดยการอ้างอิง หรือมีลิขสิทธิ์ ต้องมีเอกสารอนุญาตการใช้ชิ้นงานดังกล่าวเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ประกอบด้วย
  8. ในการเขียนอ้างอิงภาษาไทย ให้ผู้เขียนแปลเอกสารอ้างอิงภาษาไทยดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษด้วย โดยแยกออกมาต่อท้ายกับของการอ้างอิงเอกสารภาษาไทย ภายใต้หัวข้อ Translated Thai References และเรียงตามตัวอักษรตามหลักบรรณานุกรมปกติ (ดูตัวอย่างได้จาก วารสารฯ ฉบับที่ 13.2 หรือ 14.1)

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิง