สารจากคณบดีฉบับที่ 17 : การรับน้อง 4.0 กับวัฒนธรรมไร้ราก

ทุกวันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว และเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเพณีและพิธีกรรมหลายอย่างได้สูญหายไป เนื่องจากไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการของคนในสังคม และไม่สอดคล้องกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ระบบโซตัส (Sotus/ Senior; Order; Tradition; Spirit) เป็นพิธีกรรมแบบหนึ่ง ที่ถูกสืบทอดมายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศด้อยพัฒนา เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและประเทศไทย หรือแม้กระทั่งบางประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปอเมริกาและเอเชีย อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา แม้ว่าการรับน้องจะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เริ่มตั้งแต่ระบบ Penalism ในสมัยกลางหรือเมื่อกว่า 700 ปีมาแล้ว จนถึงวัฒนธรรมแบบ Fagging หรือ Hazing ของโรงเรียนกินนอนในประเทศอังกฤษ ที่เชื่อว่า นักเรียนเก่าหรือรุ่นพี่มีอำนาจในการบังคับให้นักเรียนใหม่หรือรุ่นน้องทำตัวเป็นคนรับใช้ของตนเอง และหากรุ่นน้องคนไหนขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกทำโทษ ซึ่งมีตั้งแต่การทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ไปจนถึงการคุกคามทางเพศและเสียชีวิต วัฒนธรรม Fagging Read more

สารจากคณบดีฉบับที่ 16

ปีการศึกษา ๒๕๖๐ นับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับชาติ วิกฤตที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ในระดับโลก ปัญหาสังคมเกิดขึ้นในรูปแบบที่ซับซ้อนและมีความรุนแรงที่นับวันจะแผ่ขยายเป็นวงกว้างขึ้น ทั้งในรูปของสงครามแบบเผชิญหน้า และการก่อการร้าย นอกจากนี้ ยังพบปัญหาสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง มลพิษ อาหารปนเปื้อนสารพิษ และปัญหาการแบ่งแยกกีดกันทางความเชื่อและศาสนา ในระดับภูมิภาค พบปัญหาการอพยพเคลื่อนย้ายของพลเมืองเพื่อแสวงหาอนาคตที่ดีขึ้น ปัญหาการค้ามนุษย์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในระดับประเทศ พบปัญหาเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ ความรุนแรง การทุจริตเชิงนโยบาย การขาดวินัยทางการเงินการคลัง การเลือกปฏิบัติในหลากหลายรูปแบบ การจำกัดเสรีภาพทางวิชาการ และการกีดกันการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง ตลอดจนความล้าหลังของหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และบรรยากาศในชั้นเรียนที่ไม่เอื้อให้นิสิตได้เรียนรู้ปัญหาที่ปรากฏจริงและพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในระดับปัจเจกบุคคล พบปัญหาเด็กและเยาวชนไทยขาดทักษะที่เหมาะสมของศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งล้วนมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ได้แก่ การคิดเชิงเหตุผล การคิดสร้างสรรค์ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 15

เรียน คณาจารย์และบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ ดิฉัน รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สิรสุนทร คณบดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะทีดิฉันมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการแต่งตั้งผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเนศวร ครั้งที่ 2 โดยเป็นคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และเป็นคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย  ประเภทผู้บริหาร โดยได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 4/ 2559 ในวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2559 เพื่อพิจารณากลั่นกรองผู้สมัครและผู้ตอบรับการทาบทามผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งผลการดำเนินการในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามที่ปรากฏในประกาศคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง รายชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ตามที่ทุกท่านได้รับทราบโดยช่องทางสาธารณะ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 14 : การให้

การให้ (Giving) เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ที่ช่วยทำให้สังคมมนุษย์น่าอยู่ ก่อนศตวรรษที่ 20      การให้ มักมีรากฐานมาจากความรู้สึก ความต้องการ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่างผู้ให้กับผู้รับ ของที่มนุษย์มอบให้แก่กันก็มีเพียงสองแบบ แบบแรก ได้แก่ สิ่งที่เป็นวัตถุจับต้องได้ เช่น สิ่งของ เงินทอง และปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่พัก หรือยารักษาโรค แบบที่สอง ได้แก่ สิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เช่น ความรัก ความเมตตา การให้กำลังใจกันและกันยามทุกข์ยาก การกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจ การให้โอกาส และการให้เวลา การให้ เป็นวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Culture) ที่ถูกผูกไว้กับเวลา (Time) และพื้นที่ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 13 : ผู้นำและภาวะผู้นำ

หลายเดือนที่ผ่านมานี้ ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางและพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตา หลายจำพวก ได้พบกับผู้นำองค์กรขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมีลูกจ้างหลายหมื่นคน ผู้นำสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงของอาเซียน ผู้นำและอดีตผู้นำทางการเมืองหลายคน และบางคนก็อายุไม่มากเลย ขณะที่ได้มีโอกาสพูดคุย ก็พยายามสังเกต เรียนรู้ และค้นหาคำตอบว่าอะไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จหรือความล้มเหลวของบุคคลเหล่านั้น ผู้นำหลายคนที่ได้พูดคุยด้วย ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนก็นำความหดหู่ใจมาให้ในขณะพูดคุย และเนื่องจากช่วงนี้ เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยนเรศวร กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ ดิฉันจึงขอนำเรื่องของผู้นำและภาวะผู้นำมาพูดคุยกันในสาส์นจากคณบดีฉบับนี้ ภาวะผู้นำ (Leadership) ที่เรานำมาพูดและใช้กันบ่อยๆ เป็นกระบวนการทางอิทธิพล (Influence) ที่บุคคลนำมาใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มหรือองค์กร เพื่อให้สามารถนำพากลุ่มหรือองค์กรนั้นๆ ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ประสบความสำเร็จตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่วางไว้ อิทธิพล ตามนัยนี้ จึงไม่ใช่การใช้อำนาจบังคับ ไม่ใช่การก้าวร้าวกดดันเพื่อให้ยอมจำนน และไม่ใช่การสร้างความลรำคาญจนยอมคล้อยตาม แต่มีลักษณะเป็นการยอมรับซึ่งกันและกัน (Reciprocal)  ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม บนพื้นฐานของความเห็นชอบร่วมกัน ตามหลักเหตุและผล ที่ผ่านการคิดและวิจัยอย่างเป็นระบบ เพื่อกำหนดเป็นวิสัยทัศน์ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 12 : ความสำคัญของ กยศ.กับอนาคตของประเทศไทย

แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในรอบห้าทศวรรษที่ผ่านมา จะสอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง “Growth is good for poverty reduction” ดังพบว่า ประเทศไทยมีการเติบโตในอัตราร้อยละ 5-6 ต่อปี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่สามทศวรรษที่ผ่านมา การกระจายรายได้ มีแนวโน้มทวีความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในเมืองกับคนชนบท ผลงานวิจัยหลายชิ้นตัวอย่างเช่น งานของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (กอบศักดิ์ ภู่ตระกูล 2556) Moreli, Smeeding and Thomson (2015)  และ Alvaredo and Gasparini (2015) ล้วนแสดงให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยอยู่ในระดับเดียวกับกลุ่มประเทศละตินอเมริกา และนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จะเห็นได้ว่า ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา รายได้และทรัพย์สินของคนไทยกระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในกลุ่มคนที่รวยที่สุด ร้อยละ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 11 : ความรุนแรงในสถาบันการศึกษา

ความรุนแรงในสถาบันการศึกษา ความรุนแรง จัดเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม เนื่องจากมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องตกเป็นเหยื่อ และเกิดขึ้นจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ความรุนแรงจึงไม่ใช่กิจกรรม หรือปรากฏการณ์ที่แยกตัวออกมาอย่างโดดเดี่ยวจากกิจกรรมหรือปรากฏการณ์ทางสังคมอื่นๆ แต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะที่เชื่อมโยง เป็นกระบวนการ ผ่านมิติเรื่องเวลา โดยมีมูลเหตุปัจจัย คุณลักษณะและองค์ประกอบร่วมบางประการที่นำมาสู่ความรุนแรงประเภทหนึ่งๆ  ดังนั้น การทำความเข้าใจกับมูลเหตุปัจจัย ธรรมชาติ คุณลักษณะของความรุนแรง และบริบททางสังคมที่เอื้อให้เกิดความรุนแรงนั้นๆ ขึ้น จึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าด้วยเหตุใด ความรุนแรงนั้นๆ จึงเกิดขึ้น และเพราะเหตุใด รูปแบบของความรุนแรงบางประเภท จึงเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่ารูปแบบของความรุนแรงแบบอื่นๆ ในสังคมแบบนั้น ในอดีต นักสังคมศาสตร์จำนวนไม่น้อยเสนอว่า บุคคลจะให้ความหมาย ตีความปรากฏการณ์ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตามประสบการณ์ และการรับรู้ที่บุคคลได้รับมาจากการขัดเกลาทางสังคม ตลอดจนการเรียนรู้จากวัฒนธรรมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญของความรุนแรง จึงมีรากฐานมาจากขั้นตอนและกระบวนการที่บุคคล ประมวลสิ่งที่ตนเองได้พบเห็น และแสดงพฤติกรรมซึ่งเป็นความรุนแรง ดังนั้น Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 10 : อิสรภาพ ความสุข และความดี

ในยุคสมัยที่กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ถูกใช้เพื่อควบคุมชีวิตของมนุษย์ในสังคม ผ่านการควบคุม ตรวจสอบอย่างเข้มงวด จัดระเบียบ และสั่งการ ด้วยหลักคิดเวลาและเครือข่ายวาทกรรมกระทำให้เป็นเหตุผลของความจริงเพียงชุดเดียว จนชีวิตของเรากลายเป็นกระบวนการที่เป็นแบบแผน โดยมีระบบ ระเบียบ กฎหมายและวัฒนธรรมเป็นกลไกสำคัญ ภายใต้การเติบโตอย่างสุดขีดของระบบทุนนิยม และประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้ก่อให้เกิดระบบศีลธรรมแบบใหม่ ที่คนจำนวนไม่น้อยเชื่อมั่นว่าดีที่สุด ได้แก่ แนวคิดเรื่อง สิทธิ อิสระ และเสรีภาพส่วนบุคคล ควบคู่ไปกับความต้องการและการบริโภคแบบไม่มีขอบเขต ดังนั้น ประเด็นโต้แย้งเรื่องเท่าไร เมื่อไร และอย่างไร จึงจะเพียงพอ จึงเป็นปัญหาอยู่เสมอ ในแวดวงวิชาการ การละเมิดสิทธิ อิสรภาพ และเสรีภาพส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นในเชิงนโยบายหรือในระดับปัจเจกบุคคล ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่สิ่งที่ไม่ค่อยได้ยิน และดูเหมือนจะไม่มีใครอ้างสิทธิในการปกปักรักษา ได้แก่ อิสรภาพ สิทธิ และเสรีภาพของสังคม ดังนั้น อะไรก็ตามที่เป็นสมบัติ Read more

สารจากคณบดี ฉบับที่ 9: ชีวิตเนิบๆ

ปรัชญาของการใช้ชีวิตแบบเนิบๆที่พูดถึงในที่นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่จริงแล้วเป็นปรัชญาการดำเนินชีวิต ที่มีรากฐานมาจากปรัชญาเซ็น ที่นักปราชญ์เซ็นผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ได้เคยกล่าวถึงการใช้ชีวิตทำนองนี้มาเนิ่นนานแล้ว โดยให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตที่วางอยู่บนพื้นฐานของ ความเรียบง่าย ความสุข และลดการบริโภควัตถุหรือลดการใช้บริการที่มีความซับซ้อนหรือที่ศัพท์ร่วมสมัยเรียกว่าลด “ความเยอะ” ลง

พูดถึงประเพณีการรับน้อง-สารจากคณบดี ฉบับที่ 8

ประเพณีการ “ว๊ากน้อง” ได้เริ่มขึ้นในสถาบันการศึกษาในยุโรปมาเกือบ 700 ปีมาแล้ว โดยมีเป้าประสงค์เพื่อแสดงการต้อนรับนิสิตใหม่เข้าสู่รั้วของมหาวิทยาลัย เนื่องจากในสมัยนั้น นิสิตจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า นิสิตใหม่ทั้งหลาย เป็นพวกไม่มีอารยธรรม และต้องการระบบขัดเกลาใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหมาะสม จากรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อน และมีความคุ้นเคยกับกฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆดีกว่า ทั้งยังเชื่อว่า ประเพณีดังกล่าวจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และกิริยามารยาทที่เหมาะสมให้แก่นิสิตใหม่ โดยประเพณีดังกล่าว ได้ถูกยอมรับ และยึดถือปฏิบัติสืบต่อมาในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยออ๊กฟอร์ด, แคมบริดส์, ฮาวาร์ด, เยล และโรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ส เมื่อเวลาผ่านไป ประเพณี “ว๊ากน้อง” ได้ถูกทำให้มีความเป็นสถาบัน ในแบบที่ยากที่จะยอมรับได้ ซึ่งรวมไปถึง การบังคับให้นิสิตใหม่ทำตัวเป็นคนรับใช้ของนิสิตเก่า ถูกลงโทษ บางครั้งถูกล่วงละเมิดและทำให้เจ็บช้ำน้ำใจทั้งทางจิตใจและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการล่วงละเมิดทางเพศ การลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการกีดกันเหยียดหยาม Read more