:: สันติ-วีณา: หนังเก่า เล่าใหม่ สไตล์ไทยพุทธ ::

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการเทใจรับใช้สังคม ครั้งที่ 3 หัวข้อ วัฒนธรรมศึกษาบนสื่อภาพยนตร์ กรณีศึกษาสันติ-วีณา: หนังเก่า เล่าใหม่ สไตล์ไทยพุทธ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมไทยศึกษาการสื่อภาพยนตร์ รวมถึงการสร้างความตระหนักและการคิดวิเคราะห์ต่อประเด็นความเชื่อและพุทธศาสนาในสังคมไทย รวมถึงยังเป็นการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่า ซึ่งภาพยนต์เรื่องสันติ-วีณา เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องยาวเรื่องแรกที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากงานประกวดภาพยนตร์นานาชาติแห่งเอเชียอาคเนย์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่ง สันติ-วีณา ได้รับรางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม (รัตน์ เปสตันยี) กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ) และรางวัลพิเศษจากสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งอเมริกาในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ที่แสดงวัฒนธรรมของเอเชียได้เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำในระบบ 35 ม.ม. ได้รับคัดเลือกเข้าไปฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ในสาย “คานส์ คลาสิคส์” (ปี 2559) นอกจากเรื่องราวความสำเร็จของการสร้างหมุดหมายสำคัญให้แก่วงการภาพยนตร์ไทยบนเวทีระดับนานาชาติแล้ว Read more

:: MOU Video on Demand ::

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตะหนักถึงความสำคัญของระบบ Video on Demand ซึ่งเป็นระบบวิดิโอดิจิตอลที่ผู้ใช้สามารถเปิดวีดิทัศน์ที่มีอยู่ในรายการได้ทันที โดยไม่คำนึงว่ากำลังให้บริการรายการใดให้กับใครอยู่ในขณะนั้น พร้อมทั้งความสามารถในการควบคุมการเล่นได้ด้วยตนเอง โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงทำให้ผู้ชม สามารถเลือกรายการวีดิทัศน์ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ และเลือกชมได้ตลอดเวลา โดย Video on Demand เป็นระบบที่มีศูนย์กลางการเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใดก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบ Video on Demand จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้ ในการนี้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงได้ผลักดันและส่งเสริมให้นิสิตที่สนใจ ได้เข้าถึงสื่อวีดีทัศน์และสื่อภาพยนตร์ต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็วและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยจัดทำบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการให้บริการวีดิทัศน์ของหอภาพยนตร์ (Video on Demand) ในสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่าง หอภาพยนตร์ Read more

:: NUPL #40 ::

ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการบรรยายวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 40 โดยมีการบรรยายในหัวข้อ “สำนักงบประมาณแห่งรัฐสภา (Parliamentary Budge Office: PBO): กลไกของฝ่ายนิติบัญญัติในการสร้างธรรมาภิบาลของระบบงบประมาณไทย”วิทยากรโดย ดร.เจริญพงษ์ ศุภธีระธาดา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ (นักวิเคราะห์งบประมาณชำนญการพิศษ) สำนักงบประมาณแห่งรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสำนักงบประมาณ ที่ทำหน้าที่จัดสรรงบประมาณของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และ ประเทศชาติ โดยจัดสรรออกมาในรูปของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศ และ กิจการที่จำเป็นทั้งมวล รวมทั้งจะต้องดูแลให้การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินเป็นไปอย่างประหยัดที่สุดไม่ให้มีการรั่วไหลหรือสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เวลา 9.00 – 12.00 น.ที่ผ่านมา ณ Read more

เสวนาภาพยนตร์ หัวข้อเรื่อง “สันติ-วีณา: หนังเก่า เล่าใหม่ สไตล์ไทยพุทธ”

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ขอเชิญผู้สนใจทุกท่านร่วมรับชมภาพยนตร์เรื่อง “สันติ-วีณา” พร้อมร่วมกิจกรรมการเสวนาภาพยนตร์ หัวข้อเรื่อง “สันติ-วีณา: หนังเก่า เล่าใหม่ สไตล์ไทยพุทธ” . วิทยากรโดย Prof. Dr. Rachel​ Harrison​ SOAS, University​ of London​ . ชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) . ก้อง ฤทธิ์ดี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) . สัณห์ชัย โชติรสเศรณี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) . ดำเนินรายการโดย ดร.อาทิตย์ พงษ์พานิช Read more

:: เตรียมความพร้อมนิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ ::

ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิต โดยในช่วงเช้ามีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยพระสงฆ์จำนวน 9 รูปจากวัดเสาหิน รวมถึงทำบุญใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจกับนิสิตใหม่ พร้อมทั้งมีการบรรยายพิเศษเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและส้รางพื้นฐานในการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ โดยหัวข้อที่บรรยายประกอบไปด้วย 1.ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยศิลาจารึกหลักที่ 1 โดย อาจารย์ดารุณี สมศรี 2.การเขียนและการอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ โดย ดร.ณัฎฐพงษ์ สกุลเลี่ยว 3.ทิศทางของการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่ออนาคต โดย ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ซึ่งวิทยากรในการบรรยายทั้ง 3 ท่าน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงยังมีพิธีมอบตัวเป็นศิษย์ซึ่งจัดขึนเพื่อเป็นการต้อนรับนิสิตใหม่ภาควิชาประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ และยังเป็นการแสดงความเคารพต่ออาจารย์ผู้สอนอีกทางหนึ่งด้วย โดยจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นวันแรกของการเรียนแบบในห้องเรียนตามประกาศของมหาวิทยาลัย ณ Read more