บัณฑิตศึกษา ภาควิชาประวัติศาสตร์

วิสัยทัศน์

การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มุ่งดำเนินไปตามแนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ที่จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศและมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยจะให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และ ระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทำรายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน คือ การมุ่งพัฒนาคุณภาพของคนด้วยการเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลาย สอดคล้องกับแนวโน้มการจ้างงานและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อสร้างจิตสำนึกคนไทยให้ยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันจะเป็นรากฐานสำคัญในการลดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด สร้างความเป็นเอกภาพในสังคม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียนให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่วนยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น เป้าหมายสำคัญ คือ

    1. การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาค ซึ่งมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ในระดับพื้นที่ของประเทศให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การเกษตร และการท่องเที่ยว พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งบูรณาการแผนพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้บรรลุประโยชน์ร่วมกันทั้งด้านความมั่นคงและเสถียรภาพของพื้นที่
    2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันในประชาคมอาเซียน โดยพัฒนาความร่วมมือในการผลิตความรู้และทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษา ทั้งในแง่ของงานวิจัยและนักวิจัย ให้มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
    3. การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้บทบาทที่สร้างสรรค์ มุ่งรักษาบทบาทของไทยในการมีส่วนร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ของกรอบความร่วมมือที่ดำเนินอยู่ รวมทั้งรักษาดุลยภาพของปฏิสัมพันธ์กับมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมและมหาอำนาจใหม่

การพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คือ การ บูรณาการเรื่อง ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในรากเหง้าของตนและของผู้คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชีวิตผูกพันกันมายาวนาน และเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในท่ามกลางความหลากหลาย ความรู้และความเข้าใจต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างบูรณาการจึงจะเป็นพลังให้สังคมไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ลดทอนความขัดแย้งแตกแยกทางความคิด และเป็นภูมิปัญญาที่จะทำให้สังคมไทยสามารถรับมือกับกระแสการไหลบ่าของข่าวสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จึงถือเป็นการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรในเชิงบูรณาการของภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ครอบคลุมตั้งแต่การศึกษาในระดับปริญญาตรีจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา กล่าวคือ สามารถต่อยอดจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์หรือสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ขึ้นไปสู่ศึกษาวิจัยขั้นสูงในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกในด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาต่อไป

นอกจากนี้ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จะรองรับการศึกษาข้ามพรมแดนและเป็นการให้บริการการศึกษาที่มีคุณภาพต่อเพื่อนสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้/ภูมิภาคเอเชียอันเป็นมิตรประเทศที่เป็นคู่เจรจา (dialogue partners) ในกรอบของประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ปรัชญาและวัตถุประสงค์

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เน้นการศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary) โดยมี “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นหน่วยของการวิเคราะห์และการค้นคว้าวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ระบบคิด ปรัชญา อารยธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและนำไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ทั้งนี้ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ

  1. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างหลากหลายและร่วมรู้สึกสำนึกต่อประสบการณ์ร่วมกันของผู้คนในภูมิภาค ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  2. เพื่อพัฒนาความรู้และการวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายความร่วมมือด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ

  1. มีความรอบรู้เกี่ยวกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  2. มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างลุ่มลึก

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
ประธานหลักสูตร

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1. ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
2. ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
3. ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล

โครงสร้างหลักสูตร

  1. แผน ก แบบ ก 1 (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
    • วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 4 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    • หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต 2)
  2. แผน ก แบบ ก 2 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
    • รายวิชา 24 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 4 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
    • หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

รายวิชาวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต

รายวิชาบังคับบังคับ

รายวิชาเลือก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ปรัชญาและวัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เน้นการศึกษาวิจัยแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary) โดยมี “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เป็นหน่วยของการวิเคราะห์และการค้นคว้าวิจัยที่ครอบคลุมในทุกมิติ ตั้งแต่ระบบคิด ปรัชญา อารยธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อตอบสนองนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและนำไปสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มีหลักปรัชญาเป้าหมาย คือ

  1. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะและคุณภาพระดับสูงในด้านการวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจิตสำนึกยอมรับความแตกต่างหลากหลายและร่วมรู้สึกสำนึกต่อประสบการณ์ร่วมกันของผู้คนในภูมิภาค ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
  2. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และการวิจัยในเชิงสหวิทยาการ (interdisciplinary) เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  3. เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายความร่วมมือด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับนานาชาติ

โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ

  1. มีศักยภาพระดับสูงในการวิจัยเชิงสหวิทยาการแบบบูรณาการ และสามารถทำการศึกษาค้นคว้าได้อย่างเป็นอิสระและลุ่มลึก
  2. มีความรอบรู้เชี่ยวชาญต่อพัฒนาการล่าสุดขององค์ความรู้ในสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาและอาเซียนศึกษา โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสำคัญที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้าอยู่
  3. มีความสามารถในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาหรือพัฒนาเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ในสาขาวิชาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นในระดับสากล รวมทั้งการจัดการความรู้ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาอย่างเป็นระบบ

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
ประธานหลักสูตร

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

1. ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
2. ผศ.ดร.มนตรี กรรพุมมาลย์
3. ผศ.ดร.อุดมพร ธีระวิริยะกุล

โครงสร้างหลักสูตร

  1. แบบ 1 (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว สำหรับนิสิตที่จบปริญญาโทและเคยทำวิทยานิพนธ์มาแล้ว)
    • วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
    • หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
  2. แบบ 2.1 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตที่จบปริญญาโทมาแบบไม่ทำวิทยานิพนธ์หรือต้องการเรียนรายวิชาเพิ่มเติม)
    • รายวิชา 12 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 3 หน่วยกิต
    • หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
  3. แบบ 2.2 (ทำงานรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ สำหรับนิสิตที่จบปริญญาตรีแบบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
    • รายวิชา 24 หน่วยกิต
    • วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
    • วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 6 หน่วยกิต
    • หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต

รายวิชาวิชาบังคับแบบไม่นับหน่วยกิต

รายวิชาบังคับบังคับ

รายวิชาเลือก