ระดับปริญญาตรี

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
(Bachelor of Arts Program in Social Development)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์
ปรัชญา: “ผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติการด้านการพัฒนาสังคม บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการและการวิจัย”
ความสำคัญ: เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนา เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิต ความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการและการวิจัย เพื่อปฏิบัติการพัฒนาสังคม (Research and Academic for Social Practice)
วัตถุประสงค์: มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
  1. มีทักษะในการดำเนินชีวิตและอาชีพ เคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร เข้าใจบทบาท หน้าที่ และสิทธิพลเมือง สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุข มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการสังคมที่มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. มีความรู้ สามารถอธิบายปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมถึงแนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม โดยเชื่อมโยงไปสู่การวิพากษ์และเสนอแนวทางการพัฒนาในประเด็นปัญหาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัยได้
  3. มีทักษะการเป็นนักปฏิบัติการด้านพัฒนาสังคม ที่ตระหนักถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งเป็นทักษะด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  4. มีทักษะด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางวิชาการ จริยธรรมการวิจัย และจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม และสามารถขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาสังคมด้วยองค์ความรู้จากการวิจัยหรือนวัตกรรม ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ทันสมัย เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม
การสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร

การสมัครและคุณสมบัตของผู้สมัคร :

  • รับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา:

เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 ข้อ 5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          5.1 หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการและทางวิชาชีพหรือปฎิบัติการต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรอง

          5.2 หลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี) หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่ตรงกับสาขาวิชาที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการจากสถาบันการศึกษาซึ่งมหาวิทยาลัยรับรอง

          5.3 หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทั้งทางวิชาการและทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองมีค่าเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่าและระหว่างศึกษาในหลักสูตรแบบก้าวหน้า หากภาคการศึกษาใดมีผลการเรียนต่ำกว่า 3.50 จะถือว่าขาดคุณสมบัติในการศึกษาหลักสูตรแบบก้าวหน้า

          5.4 เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

          5.5 ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

          5.6 ไม่เคยถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติ

โอกาสของอาชีพหลังจบการศึกษา

ภาครัฐ สามารถสอบ กพ. เข้าสู่ระบบราชการได้ตามความเชี่ยวชาญที่จบมา หรือสาขาใกล้เคียง โดยปกติแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่

  1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
  2. กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เช่น พัฒนากรตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นต้น
  3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ
  4. สถาบันวิจัยทางสังคม รวมถึงสถาบันวิจัยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
  5. หน่วยงานรัฐอื่น ๆ ที่มีสาขาที่ใกล้เคียง เช่น รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และอื่น ๆ

ภาคเอกชน

  1. บริษัท ห้างร้าน ที่ทำงานด้านการพัฒนาต่าง ๆ โดยเฉพาะในฝ่ายที่ต้องดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
  2. องค์กรเอกชน (Non-Government Organizations: NGOs) มูลนิธิ และหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาล เช่น องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ องค์กรภาคประชาสังคม ที่ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการจากแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ อาทิ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) สำนักงานกองทุน
รายละเอียดหลักสูตรระดับปริญญาตรี

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

 โครงสร้างหลักสูตร (แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)

1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30
     1.1 วิชาบังคับ ไม่น้อยกว่า 30
     1.2 วิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 1

2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 93
     2.1 วิชาพื้นฐาน 21
     2.2 วิชาบังคับ 36
     2.3 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 6
     2.4 สหกิจศึกษา/ฝึกงาน/ฝึกอบรมในต่างประเทศ 6
     2.5 วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 24

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6

4.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (ELOs)

  • ELO 1 มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต เคารพและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร
  • ELO 2 มีการปฏิบัติตามจริยธรรมทางวิชาการ จริยธรรมการวิจัย และจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม
  • ELO 3 มีการแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ELO 4 เข้าใจบทบาทหน้าที่และสิทธิของพลเมือง ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในบริบทสังคมไทย
  • ELO 5 อธิบายแนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคมและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม
  • ELO 6 ใช้กระบวนการวิจัยและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคม
  • ELO 7 อธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • ELO 8 วิพากษ์และเสนอแนวทางการพัฒนาในประเด็นปัญหาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย
  • ELO 9 มีทักษะในการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคมจากการสหกิจในสถานประกอบการ
  • ELO 10 มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและอาชีพ
  • ELO 11 แสดงออกถึงการมีสุขภาวะที่ดีและความอยู่ดีมีสุข
  • ELO 12 กล้าแสดงออกในการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างสร้างสรรค์
  • ELO 13 มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหรือภาษาที่สามหรือการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตและอาชีพ

ประธานหลักสูตร

ผศ.อำนวย พิรุณสาร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  1. ผศ.อำนวย พิรุณสาร
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิชัย ยังสุข
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญภัสรา กษมาจารุพัชร
  4. ดร.เสาวลักณ์ ลิ้มศิริวงศ์
  5. ดร.กมเลศ โพธิกนิษฐ

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

1.1) กลุ่มวิชาภาษา   จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

  • 001201 ทักษะภาษาไทย (Thai Language Skills)
  • 001211 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Fundamental English)
  • 001212 ภาษาอังกฤษพัฒนา (Developmental English)
  • 001213 ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (English for Academic Purposes)

1.2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์  จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 001221 สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า  (Information Science for Study and Research)
  • 001222 ภาษา สังคมและวัฒนธรรม (Language, Society and Culture)
  • 001224 ศิลปะในชีวิตประจำวัน (Arts in Daily Life)
  • 001225 ความเป็นส่วนตัวของชีวิต (Life Privacy)
  • 001226 วิถีชีวิตในยุคดิจิทัล (Ways of Living in the Digital Age)
  • 0001227 ดนตรีวิถีไทยศึกษา (Music Studies in Thai Culture)
  • 001228 ความสุขกับงานอดิเรก (Happiness with Hobbies)
  • 001229 รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น ชีวิตที่มีความหมาย (Know Yourself, Understand Others, Meaningful Life)
  • 001241 ดนตรีตะวันตกในชีวิตประจำวัน (Western Music in Daily Life)
  • 001242 การคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovation)

1.3) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์        จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 001231 ปรัชญาชีวิตเพื่อวิถีพอเพียงในชีวิตประจำวัน (Philosophy of Life for Sufficient Living)
  • 001232 กฎหมายพื้นฐานเพื่อคุณภาพชีวิต (Fundamental Laws for Quality of Life)
  • 001233 ไทยกับประชาคมโลก (Thai State and the World Community)
  • 001234 อารยธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (Civilization and Local Wisdom)
  • 001235 การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม (Politics, Economy and Society)
  • 001236 การจัดการการดำเนินชีวิต (Living Management)
  • 001237 ทักษะชีวิต (Life Skills)
  • 001238 การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
  • 001239 ภาวะผู้นำกับความรัก (Leadership and Compassion)
  • 001251 พลวัตกลุ่มและการทำงานเป็นทีม (Group Dynamics and Teamwork)
  • 001252 นเรศวรศึกษา (Naresuan Studies)                
  • 001253 การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)

1.4) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 001271 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (Man and Environment)
  • 001272 คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน (Introduction to Computer Information Science)
  • 001273 คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน (Mathematics and Statistics in Everyday life)
  • 001274 ยาและสารเคมีในชีวิตประจำวัน (Drugs and Chemicals in Daily Life)
  • 001275 อาหารและวิถีชีวิต (Food and Life Style)
  • 001276 พลังงานและเทคโนโลยีใกล้ตัว (Energy and Technology Around Us)
  • 001277 พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behavior)
  • 001278 ชีวิตและสุขภาพ (Life and Health)
  • 001279 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน (Science in Everyday Life)

1.5)  กลุ่มวิชาพลานามัย   บังคับไม่นับหน่วยกิต   จำนวน 1 หน่วยกิต

  • 001281 กีฬาและการออกกำลังกาย (Sports and Exercises)

หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต

2.1) วิชาพื้นฐาน จำนวน 21 หน่วยกิต

  • 214110 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Economics)
  • 230478 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย (Introduction to Law)
  • 830100 แนวคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (Basic Concepts on Society and Culture)
  • 830101 แนวคิดทฤษฏีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociological and Anthropological Theories and Concepts)
  • 830102 แนวคิดพื้นฐานระบบนิเวศ (Basic Concepts of Ecological Systems)
  • 830103 แนวคิดทฤษฎีด้านการพัฒนาสังคม (Theoretical Approaches to Social development)
  • 833200 รัฐศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Political Science)

2.2) วิชาบังคับ จำนวน 36 หน่วยกิต

  • 205200 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Communicative English for Specific Purpose)
  • 205201 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการวิเคราะห์เชิงวิชาการ (Communicative English for Academic Analysis)
  • 205202 การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอผลงาน (Communicative English for Research Presentation)
  • 830213 พัฒนาการของการพัฒนา (The Evolution of Development Studies)
  • 830214 สำนึกสาธารณะเพื่อการพัฒนาสังคม (Theoretical Approaches to Sociology and Anthropology)
  • 830215 ประชากรศาสตร์สังคมเบื้องต้น (Introduction to Social Demography)
  • 830216 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเศรษฐกิจ (Economic Sociology and Anthropology)
  • 830217 จิตวิทยาประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม (Applied Psychology for Social Development)
  • 830218 กระบวนการและเทคนิคการทำงานพัฒนา (Process and Techniques for Development Work)
  • 830219 ทฤษฎีนโยบายสังคม (Social Policy Theories)
  • 830220 การวางแผน และการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาสังคม (Planning and Project Implementation for Social Development)
  • 830221 สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 1 (Statistics and Computers for Social Sciences Research 1)
  • 830222 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น (Introduction to Research Methodology in Social Sciences)
  • 830223 การฝึกปฎิบัติการพัฒนาสังคม (Social Development Practice)

2.3) วิชาเลือก ให้เลือกคละวิชา 4 กลุ่มต่อไปนี้ จำนวนไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

2.3.1) กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา

  • 830330 นโยบายสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Policy for Development)
  • 830331 นโยบายเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Economic and Social Policy for Local Development)
  • 0830332 ประชากรและการพัฒนา (Population and Development)
  • 830333 ประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์ (Population and Reproductive Health)
  • 830334 การพัฒนามนุษย์ (Human Development)
  • 830335 การบริหารการพัฒนาสังคม (Social Development Administration)
  • 830336 การพัฒนาเมือง (Urban Development)
  • 830337 การพัฒนาท้องถิ่นไทย (Thai Local Development
  • 830338 สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา (Environment and Development
  • 830339 นโยบายด้านการย้ายถิ่น (Policy of Migration)
  • 830340 นโยบายด้านสวัสดิการสังคม (Social Welfare Policy)
  • 830341 เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
  • 830342 การปกครองท้องถิ่นไทย (Thai Local Administration)
  • 830343 การเมืองกับการพัฒนาสังคม Politics and Social Development
  • 830344 ยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Strategic Integration of Local Development)
  • 830345 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา (Law Concerning Development)

2.3.2) กลุ่มวิชาปฏิบัติการสังคม

  • 830350 กระบวนการกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายทางสังคม (Group Dynamics Organization and Social Network)
  • 830351 การจัดการตนเองของชุมชน (Community Autonomous Management)
  • 830352 นวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ (Social Innovation for Creative Development)
  • 830353 การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนา (Application of Geographic Information System for Development)
  • 830354 สารสนเทศและสื่อสารมวลชนเพื่อการพัฒนา (Information and Mass Communication for Development)
  • 830355 การพัฒนาความคิดเชิงระบบ (Systematic  Thinking  Development)
  • 830356 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural Resources and Environmental Management)
  • 830357 แนวคิดและปฏิบัติการเพื่อความรับผิดชอบทางสังคม (Concepts and Practice on Cooperative Social Responsibility)
  • 830358 ชุมชนเชิงปฎิบัติการด้านการเรียนรู้ (Community of Learning Practice)
  • 0830359 ธุรกิจเพื่อสังคมและผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprises and Social Entrepreneurship)
  • 830360 พุทธธรรมกับสังคมไทย (Buddhadhamma and Thai Society)
  • 830361 สมาธิเพื่อการพัฒนาชีวิต (Meditation for Life Development)
  • 830362 การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment)
  • 830363 ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนา (Social Capital for Development)
  • 830364 การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน (Education for Human Resource Development in Community)

2.3.3) กลุ่มวิชาวิจัยสังคม

  • 830371 สถิติและคอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 2 (Statistics and Computers for Social Sciences Research 2)
  • 830372 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
  • 830373 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
  • 830374 แนวคิดทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเพื่อประยุกต์ใช้ในการวิจัย (Sociological and Anthropological Concepts for Research)
  • 830375 การวิจัยนโยบาย (Policy Research)
  • 830376 การทบทวนวรรณกรรมสำหรับงานวิจัยด้านพัฒนาสังคม (Literature Review for Social Development Research)
  • 830377 การเขียนรายงานการวิจัย (Writing a Research Report)
  • 830378 จรรยาบรรณนักวิจัยและจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (Codes of Conduct and Morality for Researchers)
  • 830379 ปัญหาสังคมและประเด็นสำคัญด้านการพัฒนา (Social Problems and Current Development Issues)
  • 830380 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

2.3.4) กลุ่มวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

  • 830381 การเคลื่อนไหวทางสังคมกับการพัฒนา (Social Movement and Development)                           
  • 830382 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาสังคม (Peace Studies for Social Development)
  • 830383 นิเวศวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Ecology)
  • 830384 การเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรกับความหลากหลายในวิถีชีวิต (Agricultural Change and Diversity of Walks of Life)
  • 830385 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการท่องเที่ยวกับการพัฒนา (Sociology and Anthropology of Tourism and Development)
  • 830386 คนชายขอบกับการพัฒนา (Marginal and Marginalized People and Development)
  • 830387 ประเพณีไทยและศาสนาในไทย (Thai Customs and Religions in Thailand)
  • 830388 ศาสนาและจริยธรรมเพื่อการพัฒนาสังคม (Religion and Ethics for Social Development)
  • 830389 ชาติพันธุ์สัมพันธ์กับการพัฒนา (Ethnicity and Development)
  • 830390 ชายแดนศึกษา (Borderland Studies)
  • 830391 อาหารและวัฒนธรรม (Food and Culture)
  • 830392 มานุษยวิทยาสินค้า (Anthropology of Commodities)
  • 830393 สังคมวิทยาสุขภาพ (Health Sociology)
  • 830394 ประชากรและสังคมผู้สูงวัย (Population and Aging Society)
  • 830395 ประชากรศาสตร์ครอบครัว (Family Demography)
  • 830396 ประชากรกับคุณภาพชีวิต (Population and Quality of Life)
  • 830397 เพศสภาวะและเพศวิถี (Gender and Sexuality)
  • 830398 พฤติกรรมอปกติในวัฒนธรรมไทย (Abnormal Behaviors in Thai Culture)                                                   
  • 830399 สังคมวิทยาวัยเด็กเบื้องต้น (Introduction to Sociology of Childhood)
  • 830400 ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทย (Inequality in Thai Society)
  • 830401 สิทธิมนุษยชนกับการพัฒนา (Human Rights and Development)

2.4) วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

  • 830224 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 1 (Undergraduate Thesis 1)
  • 830225 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี 2 (Undergraduate Thesis 2)

2.5) สหกิจศึกษา/การฝึกงาน/ฝึกอบรมหรือการฝึกงานในต่างประเทศ กำหนดให้เลือกเรียน 1 รายวิชา จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต จากรายวิชาดังต่อไปนี้

  • 830226 สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
  • 830227 การฝึกงาน (Professional Training)
  • 830228 ฝึกอบรมหรือฝึกงานในต่างประเทศ (Overseas Training or Professional Training)

3) หมวดวิชาเลือกเสรี กำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยนิสิตสามารถเลือกเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนเรศวรหรือสถาบันการศึกษาอื่นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรรับรอง

  1. สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้มีการดำเนินงานพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคม