ระดับปริญญาโท

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม
(Master of Arts Program in Social Development)

ปรัชญาและวัตถุประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร: “มุ่งผลิตมหาบัณฑิตพัฒนาสังคม เพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมคุณภาพ”
ความสำคัญของหลักสูตร: หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มุ่งผลิตนักบริหารงานด้านการพัฒนาสังคมที่มีความสามารถในการสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน มีทักษะด้านการวิจัย และมีความสามารถด้านการออกแบบและวางแผนเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารงานด้านการพัฒนาสังคม ตลอดจนมีความเป็นนักบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ สามารถสร้างสรรค์องค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร: มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
  1. มีทักษะในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน ใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นจากคนทุกระดับและสามารถประสานงานระหว่างผู้กำหนดนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคม
  2. สามารถนำความรู้จากการวิจัยไปใช้ในการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่โดยการออกแบบและวางแผนเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการบริหารงานพัฒนาสังคมให้เกิดเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย
  3. มีทักษะการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ และเท่าทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและเทคโนโลยี และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  4. มีทักษะในการบริหารและจัดการทรัพยากรเพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมอย่างเท่าเทียม ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัด

 

การสมัครและคุณสมบัติของผู้สมัคร

การรับเข้าศึกษา: นิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา: เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559

  • หลักสูตร แผน ก แบบ ก 2 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง
  • หลักสูตร แผน ข ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง
โอกาสของอาชีพหลังจบการศึกษา
  • บุคลากรทางวิชาการ นักวิชาการสถาบันการศึกษา
  • นักวิชาการด้านการพัฒนาสังคม
  • นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์
  • นักนโยบายหน่วยงานภาครัฐ องค์กรอิสระ หรือบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านชุมชนสัมพันธ์
รายละเอียดหลักสูตรระดับปริญญาโท

โครงสร้างหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1 จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)

  1. งานรายวิชา (Course work) –
  2. วิชาบังคับ –
  3. วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า –
  4. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 36
  5. การค้นคว้าอิสระ –
  6. รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 8

แผน ก แบบ ก 2 จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)

  1. งานรายวิชา (Course work) 24
    1.1. วิชาบังคับ 18
    1.2. วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6
  2. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12
  3. การค้นคว้าอิสระ –
  4. รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 8

แผน ข จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ)

  1. งานรายวิชา (Course work) 30
  2. วิชาบังคับ 18
  3. วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12
  4. วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า –
  5. การค้นคว้าอิสระ 6
  6. รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 8

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กวินธร เสถียร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กวินธร เสถียร
  2. ดร.ศุภสิทธิ์ ต๊ะนา
  3. ดร.นพรัตน์ รัตนประทุม

กรณีจัดการศึกษาตามแผน ก แบบ ก1 ก2 และ แผน ข จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

งานรายวิชา
(1) แผน ก แบบ ก 2 ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
(2) แผน ข ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

ประกอบไปด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้

1) หมวดวิชาบังคับ สำหรับแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

  • 830511 ทฤษฎีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (Sociological and Anthropological Theories)
  • 830512 ทฤษฎีการพัฒนาสังคม (Social Development Theory)
  • 830513 การออกแบบและการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Designing and Planning)
  • 830514 การบริหาร และการประเมินผลกระทบการพัฒนาสังคม (Social Development Administration and Social Impact Assessment)
  • 830515 การวิเคราะห์โครงสร้างสังคมและการสร้างพื้นที่ทางสังคม (Analysis of Social Structure and Construction of Social Space)
  • 830516 สำนึกสาธารณะและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Public Consciousness and Social Interaction)

2) รายวิชาเลือกเฉพาะสาขา

แผน ก แบบ ก 2 ให้เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
แผน ข ให้เลือกเรียน ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
โดยเลือกเรียนจากรายวิชาต่อไปนี้

  • 830521 ภาษา การสื่อสาร และการเมืองของภาษาเพื่อการพัฒนา (Language, Communication and Politics of Language for Development)
  • 830522 สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาการพัฒนาชนบทและการกลายเป็นเมือง (Sociology and Anthropology of Rural Development and Urbanization)
  • 830523 การสร้างเสริมศักยภาพกลุ่ม องค์การ และชุมชน (Capacity Building for Group, Organization and Community)
  • 830524 เครื่องมือและเทคนิคสำหรับงานพัฒนา (Development Tools and Techniques)
  • 830525 นโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาสังคม (Public Policy in Development)
  • 830526 นโยบายการพัฒนากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (Development Policy toward Social and Cultural Change)
  • 830527 ประชากร สังคม กับการพัฒนา (Population, Society and Development)
  • 830528 ประเด็นเฉพาะเพื่อการพัฒนาสังคม (Selected Topic for Social Development)
  • 830529 ประเด็นร่วมสมัย นวัตกรรมสังคม และแนวโน้มการพัฒนา (Contemporary Issues, Social Innovation and Development Trends)
  • 830530 สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistics for Social Sciences Research)

3) วิทยานิพนธ์
แผน ก แบบ ก 1 จำนวน 36 หน่วยกิต

  • 830591 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก1 (Thesis 1, Type A 1)
  • 830592 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก1 (Thesis 2, Type A 1)
  • 830593 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก1 (Thesis 3, Type A 1)
  • 830594 วิทยานิพนธ์ 4 แผน ก แบบ ก1 (Thesis 4, Type A 1)

แผน ก แบบ ก2 จำนวน 12 หน่วยกิต

  • 830595 วิทยานิพนธ์ 1 แผน ก แบบ ก 2 (Thesis 1, Type A 2)
  • 830596 วิทยานิพนธ์ 2 แผน ก แบบ ก 2 (Thesis 2, Type A 2)
  • 830597 วิทยานิพนธ์ 3 แผน ก แบบ ก 2 (Thesis 3, Type A 2)

4) การค้นคว้าอิสระ จำนวน 6 หน่วยกิต

  • 830581 การค้นคว้าอิสระ 1 (Independent Study 1)
  • 830582 การค้นคว้าอิสระ 2 (Independent Study 2)
  • 830583 การค้นคว้าอิสระ 3 (Independent Study 3)

5) รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต จำนวน 8 หน่วยกิต (แผน ก แบบ ก 1 และ ก 2 และแผน ข ต้องเรียน)

  • 830517 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Research Methodology in Social Sciences)
  • 830518 การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)
  • 830571 สัมมนาการพัฒนาสังคม (Social Development Seminar)
  • 830572 ภูมิภาคศึกษา (Regional Studies)