คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Faculty of Social Sciences : Naresuan University

  เลขที่ 99 หมู่ที่ 9  ตำบลท่าโพธิ์  ถนนพิษณุโลก – นครสวรรค์ 
      อำเภอเมืองพิษณุโลก  จังหวัดพิษณุโลก  รหัสไปรษณีย์ 65000

  โทรศัพท์ : 055 961999

  โทรสาร : 055 961900

  Email: socialsci@nu.ac.th

ประวัติการก่อตั้ง
     คณะสังคมศาสตร์ เป็นคณะที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเมื่อเปรียบเทียบกับคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2517 ซึ่งเป็นวันที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตพิษณุโลกและได้เปิดบริการการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย ในปีพ.ศ.2533 เมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตพิษณุโลกได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศและได้รับพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร” คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์จึงได้รวมกันและได้รับการจัดตั้งให้เป็นคณะใหม่ในนาม “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ระยะเวลาต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยตระหนักว่าโครงสร้างของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้การบริหารเป็นไปอย่างล่าช้าขาดความคล่องตัวจึงเห็นสมควรให้จัดโครงสร้างคณะใหม่เพื่อให้มีขนาดกะทัดรัดและมีความคล่องตัวสูงโดยจัดสาขาวิชาซึ่งมีธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คณะสังคมศาสตร์จึงได้รับการจัดตั้งเป็นคณะใหม่อีกครั้งและได้ดำเนินการนับแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2547 (1 ตุลาคม 2546) เป็นต้นมา โดยสภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้เห็นชอบให้แบ่งโครงสร้างการบริหารจัดการภายในออกเป็น 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม และสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์      ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 (วันที่ 16 มกราคม 2553) สภามหาวิทยาลัยจึงได้มีมติให้จัดตั้งภาควิชาและให้แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 5 หน่วยงานคือ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ปี พ.ศ.2557 คณะสังคมศาสตร์ได้รับการประเมินให้เป็นคณะวิชาที่ผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2555 มีระดับความพึงพอใจในด้านคุณภาพของบัณฑิตและการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัยนเรศวรโดยตามตัวบ่งชี้เรื่อง “คุณภาพของบัณฑิตระดับปริญญาตรี” ได้คะแนนสูงสุดใน 3 มิติ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและตัวบ่งชี้เรื่อง “ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์” ได้คะแนนสูงสุดใน 4 มิติ คือ ด้านเก่งคน ด้านเก่งคิด ด้านเก่งครองชีวิต ด้านเก่งพิชิตปัญหา และในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 คณะสังคมศาสตร์ ได้ย้ายที่ทำงานมาตั้งที่อาคารอุตสาหกรรมบริการ ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ควบรวมคณะสังคมศาสตร์และวิทยาลัยประชาคมอาเซียนศึกษาและให้มีการปรับโครงสร้างแบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 7 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถานประชาคมอาเซียนศึกษา และศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประชาคมอาเซียนศึกษา (รายละเอียด/เอกสารการจัดตั้งหน่วยงานใหม่)
สัญลักษณ์ของคณะสังคมศาสตร์

พระมาลาเบี่ยง

ดอกราชพฤกษ์

สีฟ้า

 
          พระมาลาเบี่ยง เป็นสัญลักษณ์แสดงถึง แสงสว่างแห่งปัญญา ความถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความกล้าคิด กล้าพูดกล้าทำ กล้าตัดสินใจ บนพื้นฐานของความถูกต้องดีงาม เพื่อความวัฒนาผาสุกของชาติไทยอันเปรียบได้กับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นปัญญาชนแห่งสังคม บังเกิดจิตวิญญาณอันเป็นอิสระและเป็นไทจากอวิชชาทั้งปวง พร้อมไปกับเสริมสร้างพัฒนาสังคมไทยและสร้างความเข้าใจอันดี กับสังคมโลกนำไปสู่ความไพบูลย์ศานติสุขอันยั่งยืน
          สีฟ้า หมายถึง สีของท้องฟ้าที่ครอบคลุมทุกสรรพสิ่งในโลกเปรียบดั่งสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สะท้อนถึงความเป็นสหวิทยาการที่ต้องมีความเชื่อมโยงกับศาสตร์
โครงสร้างองค์กร และโครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างองค์กร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์  มีการจัดองค์กรการและการแบ่งส่วนราชการภายใน  ดังนี้

  1. สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์
    มีการแบ่งสายงานภายในสำนักงานออกเป็น 7 งาน ได้แก่
    • งานอำนวยการ
    • งานการเงิน
    • งานยุทธศาสตร์และบุคคล
    • งานบริการการศึกษา
    • งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์
    • งานวิจัยและบริการวิชาการ
    • งานพัสดุ
  2. ภาควิชาจิตวิทยา
    • หน่วยจิตวิทยาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  3. ภาควิชาประวัติศาสตร์
    • หน่วยวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
  4. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  5. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  6. สถานประชาคมอาเซียนศึกษา
  7. ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประชาคมอาเซียนศึกษา
    • ศูนย์ศึกษาพม่าและชายแดน
โครงสร้างการบริหารงาน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

          คณะสังคมศาสตร์  มีการบริหารจัดการและดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ในรูปของคณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์ โดยมีคณบดี คณะสังคมศาสตร์เป็นผู้บังคับบัญชา  รองคณบดีฝ่ายบริหาร  รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและส่งเสริมพหุวัฒนธรรม ร่วมรับผิดชอบในการบริหารงาน   ในแต่ละภาควิชามีหัวหน้าภาควิชาร่วมบริหารงาน  และในสำนักงานเลขานุการคณะมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะร่วมบริหารงาน  และมีหัวหน้างานอำนวยการ หัวหน้างานการเงิน หัวหน้างานยุทธศาสตร์และบุคคล หัวหน้างานบริการการศึกษา หัวหน้างานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ หัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ และหัวหน้างานพัสดุ ร่วมรับผิดชอบการบริหารงานภายในสำนักงาน

สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์

          รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กร  และดำเนินงานบริหารทั่วไป  เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนการสอน  ประกอบด้วย  7  งาน   ดังนี้

1. งานอำนวยการ
     1.1. หน่วยธุรการ
     1.2. หน่วยประชุมและพิธีการ
     1.3. หน่วยอาคารสถานที่ และผลิตเอกสาร
     1.4. หน่วยยานพาหนะ
     1.5. หน่วยเทคโนโลยีและสารสนเทศ
2. งานการเงิน
     2.1. หน่วยการเงิน
     2.2. หน่วยบัญชี
3. งานยุทธศาสตร์และบุคคล
     3.1. หน่วยแผนยุทธศาสตร์และการบริหารความเสี่ยง
     3.3. หน่วยบุคคล
     3.4. หน่วย Employment Unit
     3.5. เลขาคณบดีและผู้บริหาร
     3.6. หน่วยประชาสัมพันธ์
4. งานบริการการศึกษา
     4.1. หน่วยสนับสนุนจัดการเรียนการสอน
     4.2. หน่วยส่งเสริมด้านวิชาการ
     4.3. หน่วยส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา
     4.4. หน่วยพัฒนาหลักสูตรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
     4.6. หน่วยสหกิจศึกษา
     4.7. หน่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา
     4.8. หน่วยติดตามและประเมินผล
5. งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์
     5.1. หน่วยกิจการนิสิต
     5.2. หน่วยศิษย์เก่าสัมพันธ์
     5.3. หน่วยทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
6. งานวิจัยและบริการวิชาการ
     6.1. หน่วยวิจัย
     6.2. หน่วยบริการวิชาการ
         6.2.1. บริการวิชาการสู่สังคม
         6.2.2. บริการวิชาการเชิงพาณิชย์
     6.3. หน่วยวิเทศสัมพันธ์
     6.4. หน่วยห้องอ่านหนังสือ
     6.5. หน่วยวารสารสังคมศาสตร์
7. งานพัสดุ
     7.1. หน่วยพัสดุ

ภาควิชา/สถาน

          รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรม ประชุมวิชาการ และสัมมนา การพัฒนาวิชาการ การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการสร้างเครือข่ายวิชาการ รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง ดังเช่นโครงการจัดฝึกอบรมระยะสั้น ประกอบด้วย 5 ภาควิชา/สถาน ดังนี้

  1. ภาควิชาจิตวิทยา
  • หน่วยจิตวิทยาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  1. ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • หน่วยวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
  1. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  2. ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
  3. สถานประชาคมอาเซียนศึกษา

ศูนย์ความเลิศทางวิชาการ (ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประชาคมอาเซียนศึกษา )

     รับผิดชอบเกี่ยวกับการการพัฒนาวิชาการ การบริการ วิชาการ การวิจัย และความเชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ การเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรม ประชุมวิชาการ และสัมมนา รวมทั้งการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของตนเอง ตามนโยบายของผู้บริหารและของคณะ