เสรีภาพทางวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา-สารจากคณบดี ฉบับที่ 4

Dean Talkพูดคุย...และก้าวไปด้วยกัน"
พูดคุย...และก้าวไปด้วยกัน"

เสรีภาพทางวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

เสรีภาพ หมายถึง การมีสิทธิ์และและความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามความต้องการของบุคคล ดังนั้น เสรีภาพ จึงมีความสำคัญมากในมหาวิทยาลัย เมื่อนิสิต นักศึกษา จะต้องถูกสอนให้สามารถคิดและกระทำด้วยความรับผิดชอบทั้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เสรีภาพทางวิชาการ จึงเป็นการให้คำจำกัดความที่สำคัญมากสำหรับมหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ในยุคแรกเริ่ม เมื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการสอนและการเรียนรู้ ณ เวลานั้นเอง ที่หลักการของเสรีภาพทางวิชาการได้ถูกก่อกำเนิดขึ้นในมหาวิทยาลัย

เสรีภาพทางวิชาการ จึงหมายถึง เสรีภาพที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน และครอบคลุมถึงการเรียนรู้ทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เสรีภาพทางวิชาการ คือ กลไกที่ความคิดทั้งหมดจากทุกแหล่งสามารถถูกสำรวจตรวจค้นได้ เสรีภาพทางวิชาการ จึงเป็นหนทางที่ความรู้ ที่ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในรูปของข้อมูลข่าวสารถูกสื่อสารออกไป เสรีภาพทางวิชาการคือ ความสร้างสรรค์ที่สามารถเติบโต และเป็นหนทางที่นวัตกรรมจะถูกบ่มเพาะ ภาวะผู้นำจะถูกสร้าง และความรับผิดชอบจะถูกพัฒนาขึ้น

ในโลกทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบต่อคนทุกหมู่เหล่า ยิ่งนานวัน ความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือร่วมใจกันในการกระทำกิจกรรมต่างๆในโลกธุรกิจยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ความรู้และทักษะต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ล้วนต้องการการเรียนรู้ในระดับมหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่งเสรีภาพทางวิชาการได้ถูกฝึกฝน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเรียนรู้ที่จะเคารพคนอื่นๆ การแบ่งปันความคิด และนวัตกรรมต่างๆ สามารถก่อกำเนิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านั้น จะเกิดขึ้นได้ในสถานภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างเท่านั้น

เสรีภาพทางวิชาการ จึงเป็นมากกว่าการมีสิทธิ์ที่จะพูดอย่างอิสระ แต่ครอบคลุมถึงสิทธิในการตัดสินใจ ว่าอะไรถูกอะไรควรที่จะนำมาใช้สอน และการสอนควรดำเนินไปในลักษณะใดในชั้นเรียน หลักการนี้ จึงมีความสำคัญทั้งในการจัดการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เป็นหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเคารพตนเองและบุคคลอื่นๆ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้านศีลธรรม เกี่ยวข้องกับการมีสำนึกทางสังคม และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบในการแสดงพฤติกรรมที่มีจริยธรรมอันดี

ในทางปฏิบัติ เสรีภาพทางวิชาการถูกปกป้องโดยระเบียบข้อบังคับของสถาบัน ประกาศ จดหมายเปิดผนึก คู่มือของคณะวิชา ความตกลงที่กระทำร่วมกันในองค์กร วัฒนะรรมองค์การ การตรวจสอบจากสหาย และประเพณีทางวิชาการขององค์กรนั้นๆ อย่างไรก็ตาม เสรีภาพทางวิชาการ เกี่ยวข้องกับการให้ความสนใจใคร่รู้ในสถานการณ์ทางการเมือง กฏหมาย ระเบียบข้อบังคับ และบริบททางสังคม

ในมหาวิทยาลัยทั่วโลก หลักการของเสรภาพทางวิชาการ เป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับการเรียนการสอนและการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า เสรีภาพเหล่านี้ไม่มีขอบเขต ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา คำกล่าวที่เกี่ยวกับเสรีภาพทางวิชาการและความครอบครอง ปี ค.ศ. 1940 ได้ระบุให้คณาจารย์ต้องมีความชัดเจนในการกล่าวถึงสิ่งต่างๆในพื้นที่สาธารณะ โดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและความเข้าใจผิด ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชายของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของการพูดและการเขียนในพื้นที่สาธารณะ คณาจารย์ทุกคนล่วนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากความหวาดกลัว การถูกห้ามปรามหรือตัดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นจากสถาบันต้นสังกัด ทั้งนี้ การแสดงความคิดเห็นและการเขียนต่างๆต้องเป็นไปในลักษณะปัจเจก ไม่ถูกกระทำในนามของสถาบันที่ตนเองสังกัดอยู่

อย่างไรก็ตาม มักจะมีข้อโต้แย้งเสมอถึงประเด็นด้านเสรีภาพทางวิชาการ ตัวอย่างเช่นในแอฟริกาใต้ มาตราที่ 16 ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1996 ได้มีข้อความที่ปกป้องเสรภาพทางวิชาการอย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ปรากฏข้อโต้แย้งมากมายที่แสดงถึงข้อจำกัดของเสรีภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ดังในกรณีของมหาวิทยาลัย KwaZulu-Natal แม้ว่าจะมีการระบุถึงกรอบกฏหมายและกติกามารยาท ในส่วนของการแสดงเสรีภาพทางวิชาการในพื้นที่สาธารณะไว้ แต่ก็พบว่ามีการกระทำของผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยในการขัดขวางเสรภาพดังกล่าว ซึ่งในที่สุดได้นำมาซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ใยสังคมอย่างกว้างขวาง และจากองค์กรสำคัญระดับชาติและนาๆชาติ อาทิ  Cosatu และ UNESCO ซึ่งในที่สุดได้เป็นสาเหตุสำคัญที่นำมาซึ่งการประท้วงในปี ค.ศ. 2008

ในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นกรณีตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง ที่ปรากฏถ้อยความใน รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1987 ว่า “เสรีภาพทางวิชาการ จะต้องเป็นสิ่งที่ทุกๆสถาบันการศึกษาระดับสูงสามารถจัดให้เกิดความสุขในการเรียนรู้ได้” แต่ระบบดังกล่าวทำงานได้ดีในรูปของการสร้างวัฒนะรรมองค์การ โดยใช้การสำรวจตรวจตราจากมิตรสหายภายในสถาบันการศึกษา ไม่ใช่การควบคุมจากผู้มีอำนาจภายนอกสถาบันการศึกษา

การใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นในทางวิชาชีพของบุคคลในสังคมที่มีเสรีภาพ จึงเป็นส่วนที่เป็นปกติตามธรรมชาติของการแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ และไม่ควรนำไปสู่การควบคุมจากสภาพแวดล้อมภายนอกมหาวิทยาลัย และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ไม่ควรถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก จนเป็นผลให้เกิดการสูญเสียงานที่ทำ การถูกลงโทษ หรือการถูกจองจำ

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ บุคลากรของคณะและนิสิต มีความสุขกับสภาพแวดล้อมของการมีเสรีภาพทางวิชาการควบคู่กับการมีความรับผิดชอบต่อสังคม เรามีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า เสรีภาพทางวิชาการ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับการเคลื่อนไหวไปสู่การก่อเกิดของการออกแบบความเป็นเลิศและความชาญฉลาด การคิดเชิงระบบ และการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจึงปฏิเสธกิจการใดๆที่เบียดขับเพื่อลดทอนการออกแบบความเป็นอัจฉริยะ หรือกิจการที่ปราศจากหลักฐานหรือการพิสูจน์ใดๆที่จะแสดงให้เห็นได้ว่า กิจการหรือการกระทำนั้นๆ ไม่สร้างเสริมบรรยากาศของเสรีภาพทางวิชาการ

โดยสรุป ความหมายของ เสรีภาพทางวิชาการ สำหรับคณะฯของเรา จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ การสนับสนุน การส่งเสริม และการสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้ทุกๆคนในประชาคม คณะสังคมศาสตร์ ตลอดจนนิสิตของเรา ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมเสรีภาพทางวิชาการให้เกิดขึ้น ในปัจจุบัน คณะสังคมศาสตร์ ได้ริเริ่มกิจกรรมจำนวนมากเพื่อสนับสนุนเสรีภาพทางวิชาการ อาทิ “คลังความรู้ทางสังคมศาสตร์” “การพูดคุยเสวนาประชาสังคม” และเปิดเวทีในการมีสว่นร่วมเขียนบทความทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความคิดเห็นต่างๆในวารสารสังคมศาสตร์ โดยกิจกรรมเหล่านี้ มุ่งหวังให้ทุกๆคนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ร่วมอภิปราย และพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ มิติทางสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ดังนั้น ในโอกาสนี้ ดิฉันจึงของเชิญชวนทุกท่านได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรม เพื่อเปิดพื้นที่ในการแสดงเสรีภาพทางวิชาการของคณะ ในส่วนของนิสิต ทั้งปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา หากนิสิตท่านใดสนใจ สามารถติดต่อหรือประสานงานได้ที่ ผู้ช่วยคณบดี ดร.วัชรพล พุทธรักษา และนักประชาสัมพันธ์ของคณะฯ คุณมณฑล จันทร์สว่าง  ได้ในวันและเวลาราชการ หรือผ่าน FaceBook ของคณะได้ตลอดเวลาค่ะ

แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อไปค่ะ

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สิรสุนทร
คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

English Edition