ใต้ร่มราชพฤกษ์:

แนะนำคณะสังคมศาสตร์

Vision | วิสัยทัศน์

FSS will become a Vital Social Engine, making a Social Impact and achieving a Sustainable Glocal Society

Core Values | ค่านิยมองค์กร

  1. Social Responsibility
  2. Outcome-based Achievements
  3. Integrity / Professionalism
  4. Inclusive-service Mindedness
  5. Harmonious Collaboration / Teamwork
  1. มีความรับผิดชอบต่อสังคม
  2. มุ่งผลสําเร็จของงาน
  3. ยึดมั่นในความดีและความถูกต้อง / มีความเป็นมืออาชีพ
  4. ใส่ใจในการบริการแบบที่เดียวจบครบวงจร
  5. ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างปรองดอง / ทำงานเป็นทีม

Philosophy | ปรัชญา

          คณะสังคมศาสตร์มุ่งมั่นที่จะเป็นที่พึ่งให้กับสังคม และช่วยสร้างสรรค์สังคมแห่งความรับผิดชอบให้เจริญรุ่งเรือง โดยสามารถดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและเติบโตไปพร้อมกับผู้คน สังคม และโลกอย่างยั่งยืน

          FSS strives to be a social safeguard and develops a responsible society by maintaining local identities while growing sustainably together with people, societies, and the world.

Aspiration | ปณิธาน

          คณะสังคมศาสตร์เป็นที่พึ่งให้กับสังคมโลก (สังคมโลกาเทศาภิวัตน์)

          FSS is the ❤️ of all (global-local) societies.

Strategic | ยุทธศาสตร์

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการบริการการศึกษาและการผลิตบัณฑิต

Offer analytical rigor, thematic specialization, professional skills and regional networks

หลักสูตรทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษานับเป็นสิ่งท้าทายและโอกาสที่จะทำให้พันธกิจของคณะในด้านการจัดการศึกษาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คณะจะต้องเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องหลักสูตร รูปแบบการสอน การบริหารหลักสูตร การควบคุมคุณภาพ การวางแผนทางการเงินและกำลังคน ฯลฯ ให้ชัดเจนก่อนจะเปิดรับนิสิต ความสมดุลย์ระหว่าง

  1. ความคาดหวังของนิสิต
  2. แนวทางในการจัดทำและบริหารหลักสูตร และ
  3. ภาระงาน รายได้ และค่าใช้จ่ายในการบริหารการศึกษา จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ

การผลิตบัณฑิตในทุกระดับของคณะจะต้องมองในบริบทของความต้องการของประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกมากกว่าตลาดภายในประเทศเพียงอย่างเดียว นิสิตที่จบการศึกษาจากคณะจะต้องมีลักษณะโดดเด่น เป็นที่ต้องการของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรเอกชน หน่วยงานเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษาชั้นนำในอาเซียน นิสิตจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนอย่างรอบด้าน ตลอดจนความรู้เชิงลึกให้หัวข้อที่เป็นประเด็นร่วมสมัย กระบวนการเรียนการสอนจะต้องให้ความสำคัญกับการสร้างทักษะการอ่าน การตีความ การคิดวิเคราะห์ การเขียน และการนำเสนออย่างเป็นระบบ ไม่ใช่การฟังบรรยายแบบเข้มข้นเหมือนหลักสูตรอื่นๆ

หลักสูตรควรเป็นแบบสหวิทยากร (Interdisciplinary Master) โดยกำหนด thematic specialization ให้สอดคล้องกับกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ (Research clusters) ของคณะ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนและการวิจัยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หัวข้อวิชาเลือกควรเน้นเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจของหน่วยงานรัฐบาล องค์กรเอกชน นักวิชาการ ฯลฯ นอกจากนั้นนิสิตโดยเฉพาะในระดับบัณทิตศึกษาควรได้รับการเสริมทักษะในเรื่องที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักวิชาการมืออาชีพ เช่น Negotiation Techniques, Project Management, Decision Making เป็นต้น

คณะควรกำหนดหัวข้อการสอนในแต่ละวิชา พร้อมทั้งจัดทำ teaching package ซึ่งมีทั้งแนวคำถามสำหรับในการสัมมนาและเอกสารที่ต้องใช้ในการอ่านให้พร้อมก่อนเปิดหลักสูตร เช่นหลักสูตรสายพันธ์ใหม่ ด้วยวิธีนี้คณะจะสามารถใช้อาจารย์ภายในคณะหรืออาจารย์ในพื้นที่เป็นเจ้าของวิชาได้มากที่สุด การใช้อาจารย์จากภายนอกควรจำกัดเฉพาะเนื้อหาที่ลึกซึ้ง (insight) หรือเป็นประสบการณ์ตรง (ซึ่งอาจจะจัดตารางการนำเสนอให้สอดคล้องกับการจัดเวทีวิชาการเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด) เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตได้สร้างเครือข่ายกับนักปฏิบัติและผู้เชี่ยวชาญในภูมิภาค

ท้ายที่สุดหลักสูตรของคณะจะต้องเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติและประชาคมอาเซียน (well recognized by regional institution) คณะจะต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้ที่จบจากคณะมีความแตกต่าง ทั้งในความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความพร้อมในวิชาชีพ ปริญญาบัตรที่ได้รับมีคุณค่าเป็นที่ต้องการและคุ้มค่าที่ลงทุนมาเรียนกับคณะ

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยและเผยแพร่

Advancing insight and debate to foster a better understanding of challenges and opportunities of local & regional development and cooperation in the context of ASEAN Community and Beyond

การศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ลึกซึ้ง (insight) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความร่วมระหว่างท้องถิ่น และภูมิภาคและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนถือเป็นพันธกิจที่จะสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นให้แก่คณะ คณะจะต้องมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดเอกภาพในการกำหนดทิศทางการวิจัย ที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยกรธรรมชาติ และทรัพยากรกายภาพ ระหว่างสถาบันวิชาการต่างๆ ในประชาคมอาเซียน การสร้างความร่วมมือในการกำหนดกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ (Research clusters) ซึ่งสะท้อนประเด็นท้าทายและโอกาสที่ประชาคมอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ในช่วง ๕ ปีข้างหน้า นอกจากจะทำให้การสนับสนุนงานวิจัยของคณะมีทิศทางที่ชัดเจนแล้ว ยังจะช่วยกระตุ้นและสร้างบรรยากาศให้นักวิชาการในประชาคมอาเซียนทำงานวิจัยที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

ในช่วง ๕ ปี แรก คณะจะต้องพยายามสร้างผลงานวิจัยให้เป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตงานวิจัยเอง หรือสร้างภาคีเครือข่ายการวิจัยกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำในภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อร่วมผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยในกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ข้างต้น ขณะเดียวกันคณะควรจะเริ่มมองหากลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่เรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ที่จะใช้สร้างชื่อเสียงและดึงดูดนักวิจัยทั้งที่มีประสบการณ์และนักวิจัยหน้าใหม่ที่มีศักยภาพ มาร่วมทำงานกับคณะ คณะน่าจะมีความพร้อมทั้งฐานความรู้และบุคลากรที่ผลักดันให้เกิดศูนย์วิจัยเฉพาะทาง (Research centers) เพื่อทำงานอย่างครบวงจรในช่วง ๕ ปีต่อไป

นอกจากการผลิตผลงานทางวิชาการแล้ว คณะจะต้องจัดหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวกับกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ข้างต้นอย่างสม่ำเสมอ การเปิดโอกาสให้มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และพิสูจน์ข้อค้นพบ ผ่านกิจรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งระหว่างนักวิชาการด้วยกันเอง และระหว่างนักวิชาการกับผู้กำหนดนโยบาย ตัวแทนภาครัฐ และนักวิชาการจากภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการแล้ว ยังจะช่วยเสริมสร้างบทบาทของคณะให้เด่นชัดและเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการของประชาคมอาเซียน

อย่างไรก็ตาม การสร้างผลงานวิจัยและการจัดกิจกรรมทางวิชาการจำเป็นต้องอาศัยทุนสนับสนุน คณะจำเป็นต้องมีแผนการวิจัยและแผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่ชัดเจน และทำงานเชิงรุกทั้งกับมหาวิทยาลัยต้นสังกัดและสถาบันที่ให้ทุนวิจัยทั้งในภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อให้สถาบันเหล่านั้นเห็นความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับที่ประชาคมอาเซียนกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ (Research clusters) ที่คณะและเครือข่ายร่วมกันกำหนดขึ้น

กลยุทธ์

กำหนดกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ (Research clusters) ภายใต้กรอบแนวคิด “ทรัพยากร” หรือ “ทุน” ทั้ง ๓ ประเภท ซึ่งสะท้อนประเด็นท้าทายและโอกาสที่ประชาคมอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ในช่วง ๕ ปีข้างหน้า สำหรับใช้เป็นกรอบในการวิจัยของคณะอย่างทางการ (Identifying and formalizing research cluster under each type of “capital” framework that reflects current issues that ASEAN Community is facing in the next five years)
สร้างความยอมรับในหมู่นักวิชาการ หน่วยงานรัฐบาล องค์กรเอกชน บริษัทเอกชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ (เช่น หน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย) ในการใช้กลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่เพื่อเป็นฐานในการสร้างโครงข่ายงานวิจัยของประชาคมอาเซียน (Using research clusters to gain local and regional credentials among stakeholders, and building up research network on that direction)
สร้างภาคีเครือข่ายการวิจัยกับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำในภูมิภาคและนานาชาติเพื่อร่วมผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยในกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่อื่นๆ ที่ยังขาดฐานความรู้และการทำวิจัยที่ลึกซึ้ง
ลงทุนสร้างนักวิจัยประจำคณะและผลิตผลงานวิจัยในกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ที่คณะจะใช้เป็นจุดแข็ง (focal point) ในการผลักดันให้เกิดศูนย์วิจัยเฉพาะทาง ในอีก ๕ ปีข้างหน้า (Building reputation in the research cluster(s) that Faculty of Social Sciences (FSS) will use as a focal point to establish research center(s) in the next five years)
ทำให้บทบาทและการดำเนินงานของคณะเป็นที่รับรู้ในแวดวงของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการจัดทำกิจกรรมทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนารูปแบบการทำกิจกรรมทางวิชาการที่เปิดกว้างให้ผู้สนใจในประชาคมอาเซียนสามารถเข้าถึงและติดตามได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเข้าร่วม (เช่น teleconference, Facebook live )
ใช้การประชาสัมพันธ์ที่แสดงภาพกว้างของกิจกรรมทั้งหมดที่เครือข่ายของคณะดำเนินการในภูมิภาค (Placing FSS’s events in the regional setting with our partners)
ทำงานเชิงรุกกับสถาบันที่ให้ทุนวิจัยทั้งในภูมิภาคและนานาชาติ เพื่อให้สถาบันเหล่านั้นเห็นความสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับที่ประชาคมอาเซียนกลุ่มวิจัยหัวข้อใหญ่ (Research clusters) ที่คณะและเครือข่ายร่วมกันกำหนดขึ้น

3.ยุทธศาสตร์ด้านการให้บริการวิชาการ

Blending multidisciplinary perspectives with practices of innovative solution through social engagement

คณะเป็นสถาบันที่ให้บริการทางวิชาการโดยการเข้าถึงและเรียนรู้ร่วมกันกับท้องถิ่นในรูปแบบที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนในขณะเดียวกันคณะต้องสามารถสร้างรายได้จากโครงการบริการวิชาการโดยเน้นการสร้าง branding ของตัวเอง ให้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ คณะจะต้องหาทางกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาแหล่งรายได้หลักจากการรับเป็นที่ปรึกษาโครงการเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะโดยการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากบริการที่มีอยู่แล้วหรือสร้างบริการใหม่ๆ ในรูปแบบของการจัดฝึกอบรม เช่นการฝึกอบรมระดับผู้บริหาร (Executive Education) โดยนำเนื้อหาวิชาเลือกหรือวิชาทักษะวิชาชีพ (professional skills) จากหลักสูตรที่เปิดสอนมาพัฒนาให้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ (open-enrollment) หรือออกแบบหลักสูตรตามความต้องการของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งหมดนี้คณะสามารถดำเนินการคู่ขนานไปพร้อมๆ กับการเตรียม teaching package เพื่อเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอกในอนาคต

นอกจากนั้น คณะยังสามารถพัฒนาบริการใหม่ๆ โดยนำจุดแข็งของความเป็นสถาบันวิจัยที่เกี่ยวกับท้องถิ่นและประชาคมอาเซียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อาทิ การให้บริการศึกษาดูงาน (Direct Participatory Education) ในประชาคมอาเซียนและประเทศที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยทำความตกลงร่วมกับสถาบันการศึกษาที่เป็นภาคีเครือข่ายในการติดต่อหน่วยงานในพื้นที่ จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดหาสถานที่และผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายสรุป ฯลฯ และการให้บริการสืบค้นฐานความรู้และข้อมูล (Knowledge Reference Services) โดยการประมวลผลงานวิจัยทั้งของคณะและสถาบันเครือข่ายมาทำเป็นกรณีศึกษาอ้างอิง (Case Study Archive) และต่อยอดให้เป็นตัวอย่างการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice References) และเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmark) เป็นต้น

กลยุทธ์

สร้าง branding ของตัวเอง ให้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสถาบันวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียนและนานาชาติ
เพิ่มสัดส่วนรายได้จากบริการที่มีอยู่โดยนำเนื้อหาวิชาเลือกหรือวิชาทักษะวิชาชีพ (professional skills) จากหลักสูตรปริญญาตรี โท เอก มาพัฒนาให้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้น
นำจุดแข็งของความเป็นสถาบันวิจัยที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและฐานความรู้ที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนาบริการใหม่ๆ

  1. ยุทธศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

Promoting Multiculturalism through Local Arts and Cultural Preservation

มุ่งให้นิสิตและบุคลากรตระหนักถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ และมีการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาใช้ในการสร้างคุณค่าและเอกลักษณ์ให้กับการดำเนินภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย และการบริการวิชาการ รวมไปถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เหมาะสมและเท่าทันกับวัฒนธรรมจอมือถือ (Screen Cultures) หรือยุคดิจิตัล

กลยุทธ์

  • สอดแทรกวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในกระบวนการเรียนการสอนและการมอบหมายงานในการเรียนรู้
  • ผลักดันการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้เป็นส่วนหนึ่งของโจทย์วิจัย และการจัดทำโครงการบริการวิชาการ
  • นำวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์บัณฑิตให้มีความเก่งและความดีรอบด้าน
  • นำวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาผลิตสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  • สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการทำงานในแบบวิถีพอเพียง มีความเป็นกัลยาณมิตร ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วม มีความเป็นมืออาชีพ และมุ่งเน้นความสำเร็จเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

KPI | ตัวชี้วัดแผน

  • Becoming a Top 5 University within 5 years at the national level
  • Becoming a Top 5 University within 7 years at the regional level
  • Becoming a Community of Experts
  • Becoming an Academic Sanctuary for Locale: Facilitate and Help Out local difficulties and challenges
  • Becoming a Moral Leadership by enhancing Regional Education Hub for the whole North
  • Becoming a fully internationalized institute