คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เลขที่ 99 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าโพธิ์ ถนนพิษณุโลก – นครสวรรค์
อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก รหัสไปรษณีย์ 65000
โทรศัพท์ : 055 961999
โทรสาร : 055 961900
Email: socialsci@nu.ac.th
คณะสังคมศาสตร์ เป็นคณะที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเมื่อเปรียบเทียบกับคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2517 ซึ่งเป็นวันที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตพิษณุโลกและได้เปิดบริการการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะพลศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย
ในปีพ.ศ.2533 เมื่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตพิษณุโลกได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศและได้รับพระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยนเรศวร” คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์จึงได้รวมกันและได้รับการจัดตั้งให้เป็นคณะใหม่ในนาม “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”
ระยะเวลาต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยตระหนักว่าโครงสร้างของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีขนาดใหญ่เกินไปทำให้การบริหารเป็นไปอย่างล่าช้าขาดความคล่องตัวจึงเห็นสมควรให้จัดโครงสร้างคณะใหม่เพื่อให้มีขนาดกะทัดรัดและมีความคล่องตัวสูงโดยจัดสาขาวิชาซึ่งมีธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คณะสังคมศาสตร์จึงได้รับการจัดตั้งเป็นคณะใหม่อีกครั้งและได้ดำเนินการนับแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2547 (1 ตุลาคม 2546) เป็นต้นมา โดยสภามหาวิทยาลัยนเรศวรได้เห็นชอบให้แบ่งโครงสร้างการบริหารจัดการภายในออกเป็น 4 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาพัฒนาสังคม และสาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 (วันที่ 16 มกราคม 2553) สภามหาวิทยาลัยจึงได้มีมติให้จัดตั้งภาควิชาและให้แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 5 หน่วยงานคือ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.2557 คณะสังคมศาสตร์ได้รับการประเมินให้เป็นคณะวิชาที่ผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรีที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2555 มีระดับความพึงพอใจในด้านคุณภาพของบัณฑิตและการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทุกคณะวิชาในมหาวิทยาลัยนเรศวรโดยตามตัวบ่งชี้เรื่อง “คุณภาพของบัณฑิตระดับปริญญาตรี” ได้คะแนนสูงสุดใน 3 มิติ คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญาและด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและตัวบ่งชี้เรื่อง “ผลการพัฒนาบัณฑิตตามอัตลักษณ์” ได้คะแนนสูงสุดใน 4 มิติ คือ ด้านเก่งคน ด้านเก่งคิด ด้านเก่งครองชีวิต ด้านเก่งพิชิตปัญหา และในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 คณะสังคมศาสตร์ ได้ย้ายที่ทำงานมาตั้งที่อาคารอุตสาหกรรมบริการ
ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ควบรวมคณะสังคมศาสตร์และวิทยาลัยประชาคมอาเซียนศึกษาและให้มีการปรับโครงสร้างแบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 7 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา ภาควิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สถานประชาคมอาเซียนศึกษา และศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประชาคมอาเซียนศึก
พระมาลาเบี่ยง

ดอกราชพฤกษ์

สีฟ้า


คณะสังคมศาสตร์ มีการจัดองค์กรการและการแบ่งส่วนราชการภายใน ดังนี้
- สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์
มีการแบ่งสายงานภายในสำนักงานออกเป็น 6 งาน ได้แก่
1.1 งานธุรการ
1.2 งานบริการการศึกษา
1.3 งานนโยบายและแผน
1.4 งานการเงินและพัสดุ
1.5 งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์
1.6 งานวิจัยและบริการวิชาการ - ภาควิชาจิตวิทยา
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
3.1 หน่วยวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา - ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
- ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
- สถานประชาคมอาเซียนศึกษา
- ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประชาคมอาเซียนศึกษา

คณะสังคมศาสตร์ มีการบริหารจัดการและดำเนินงานภายใต้การบริหารงานของคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ในรูปของคณะกรรมการประจำคณะสังคมศาสตร์ โดยมีคณบดี คณะสังคมศาสตร์เป็นผู้บังคับบัญชา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและส่งเสริมพหุวัฒนธรรม รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ ร่วมรับผิดชอบในการบริหารงาน ในแต่ละภาควิชามีหัวหน้าภาควิชาร่วมบริหารงาน และในสำนักงานเลขานุการคณะมีหัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะร่วมบริหารงาน และมีหัวหน้างานธุรการ หัวหน้างานบริการการศึกษา หัวหน้างานนโยบายและแผน หัวหน้างานการเงินและพัสดุ หัวหน้างานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และหัวหน้างานวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมรับผิดชอบการบริหารงานภายในสำนักงาน
คณะสังคมศาสตร์ มีการแบ่งส่วนราชการภายในเพื่อการบริหารจัดการและดำเนินงาน ดังนี้
สำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์
รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กร และดำเนินงานบริหารทั่วไป เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 งาน ดังนี้
- งานธุรการ แบ่งเป็น 10 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยสารบรรณ
2) หน่วยประชุมและพิธีการ
3) หน่วยบุคคล
4) หน่วยอาคารสถานที่
5) หน่วยผลิตเอกสาร
6) หน่วยยานพาหนะ
7) หน่วยเทคโนโลยีและสารสนเทศ
8) หน่วยประชาสัมพันธ์
9) หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา
10) หน่วยทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม - งานบริการการศึกษา แบ่งเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยสนับสนุนจัดการเรียนการสอน
2) หน่วยส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา
3) หน่วยพัฒนาหลักสูตรและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
4) หน่วยสหกิจศึกษา
5) หน่วยส่งเสริมด้านวิชาการ - งานนโยบายและแผน แบ่งเป็น 4 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยแผนงานและงบประมาณ
2) หน่วยติดตามและประเมินผล
3) หน่วยวารสารสังคมศาสตร์
4) หน่วยห้องอ่านหนังสือ - งานการเงินและพัสดุ แบ่งเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยการเงิน
2) หน่วยบัญชี
3) หน่วยพัสดุ - งานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์ แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยกิจการนิสิต
2) หน่วยศิษย์เก่าสัมพันธ์ - งานวิจัยและบริการวิชาการ แบ่งเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้
1) หน่วยวิจัย
2) หน่วยบริการวิชาการ
3) หน่วยวิเทศสัมพันธ์
ภาควิชา/สถาน
รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรม ประชุมวิชาการ และสัมมนา การพัฒนาวิชาการ การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการสร้างเครือข่ายวิชาการ รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นแบบเฉพาะของตนเอง ดังเช่นโครงการจัดฝึกอบรมระยะสั้น
ศูนย์ความเลิศทางวิชาการ
รับผิดชอบเกี่ยวกับการการพัฒนาวิชาการ การบริการ วิชาการ การวิจัย และความเชี่ยวชาญในการเป็นที่ปรึกษาโครงการที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ การเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ทางวิชาการ การฝึกอบรม ประชุมวิชาการ และสัมมนา รวมทั้งการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของตนเอง ตามนโยบายของผู้บริหารและของคณะ