:: ภาพกิจกรรม :: การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมและหารือประเด็นในการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์”

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เสริมศักยภาพนักวิจัย จัดบรรยายพิเศษด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับมาตรฐานการวิจัยอย่างมีคุณภาพและจริยธรรม” งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมและหารือประเด็นในการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00–15.00 น. ที่ผ่านมา ณ ห้อง 204 อาคารปราบไตรจักร 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.เภสัชกรหญิงพัชราภรณ์ สุดชาฎา กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้ การจัดบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่สนใจ ในการดำเนินการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้หารือและแลกเปลี่ยนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนด กฎหมาย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาคุณค่าความเป็นมนุษย์ Read more

ขอแสดงความยินดีกับ “นางสาวการัณยภาส ชิณแสน” นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาประวัติศาสตร์ ในโอกาสได้รับรางวัล “ผลงานเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม” ประเภทงานปัก

ขอแสดงความยินดีกับ“นางสาวการัณยภาส ชิณแสน”นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ในโอกาสได้รับรางวัล“ผลงานเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม”ประเภทงานปัก ประจำปีงบประมาณ 2568โดย กองส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอแสดงความยินดีกับ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง” ในโอกาสได้รับตำแหน่งทางวิชาการ “รองศาสตราจารย์”

ขอแสดงความยินดีกับ“ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง”ผู้ช่วยคณบดีคณะสังคมศาสตร์อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสได้รับตำแหน่งทางวิชาการ“รองศาสตราจารย์”

การบรรยายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมและหารือประเด็นในการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรขอเรียนเชิญนิสิตบัณฑิตศึกษา และบุคลากรคณะสังคมศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมและหารือประเด็นในการยื่นขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” วิทยากรโดยรศ.ดร.เภสัชกรหญิงพัชราภรณ์ สุดชาฎาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม 2568เวลา 13.00-15.00 น.ณ ห้อง 204 อาคารปราบไตรจักร 2มหาวิทยาลัยนเรศวร ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่นี่https://shorturl.at/b7JYO

:: ภาพกิจกรรม :: วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2568

“คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ประจำปี 2568” เมื่อวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 07.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยตัวแทนบุคลากรจากสำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้ทรงประกาศอิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาและทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่บ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โดยวันที่ 25 เมษายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ เพื่อให้พสกนิกรไทยได้ร่วมน้อมจิตระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสดุดีพระเกียรติคุณในฐานะมหาวีรกษัตริย์แห่งแผ่นดิน การเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการถวายความเคารพแด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากยังเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติแก่บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์อีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ภาพกิจกรรมทั้งหมด

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันสุดท้าย)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร จัดเวิร์กช็อปวางแผนเสนอ “ลิเก” ต่อยอดสู่มรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยในวันที่สี่ของโครงการ (25 เมษายน 2568) เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้กรอบและแนวทางการเขียนเอกสารนำเสนอมรดกที่จับต้องไม่ได้ ที่เป็นวัฒนธรรมมนุษยชาติของภาคเหนือตอนล่าง คือ “ลิเก” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สาม)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนโดยกิจกรรมในวันที่สาม (24 เมษายน 2568) เป็นกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ• “ปริทรรศน์มรดกโลกและมรดกภูมิปัญญามนุษยชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”โดย อาจารย์ธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร • Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สอง)

“มรดกท้องถิ่นสู่มรดกโลก: การอนุรักษ์ธรรมชาติและดนตรีมังคละเพื่อมรดกมนุษยชาติ” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมวันที่สอง (23 เมษายน 2568) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ดนตรี และศิลปะพื้นบ้าน ลงพื้นที่สำรวจ “มรดกทางธรรมชาติ” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันแรก)

“เปิดมุมมองใหม่ “พุทธศิลป์เมืองสองแคว” ผ่านการเยี่ยมชมวัดเก่าแก่แห่งพิษณุโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมของวันแรก (22 เมษายนยน 2568) เป็นการนำวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านประวัติศาสตร์และศิลปะการแสดง ซึ่งให้เกียรติมาช่วยขับเคลื่อนโครงการของคณะสังคมศาสตร์ เยี่ยมชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร Read more

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/Crc4FV7nAAbrPzam6 วันที่ 24 เมษายน 2568 ห้องปราบไตรจักร 2 -309 มหาวิทยาลัยนเรศวร 09.00 – 09.40 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 09.40 – 10.00 น. พิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ 10.00 – 11.00 น. บรรยายหัวข้อ “ Read more