:: ภาพกิจกรรม :: วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2568

“คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ประจำปี 2568” เมื่อวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 07.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยตัวแทนบุคลากรจากสำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้ทรงประกาศอิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาและทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่บ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โดยวันที่ 25 เมษายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ เพื่อให้พสกนิกรไทยได้ร่วมน้อมจิตระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสดุดีพระเกียรติคุณในฐานะมหาวีรกษัตริย์แห่งแผ่นดิน การเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการถวายความเคารพแด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากยังเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติแก่บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์อีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ภาพกิจกรรมทั้งหมด

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันสุดท้าย)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร จัดเวิร์กช็อปวางแผนเสนอ “ลิเก” ต่อยอดสู่มรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยในวันที่สี่ของโครงการ (25 เมษายน 2568) เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้กรอบและแนวทางการเขียนเอกสารนำเสนอมรดกที่จับต้องไม่ได้ ที่เป็นวัฒนธรรมมนุษยชาติของภาคเหนือตอนล่าง คือ “ลิเก” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สาม)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนโดยกิจกรรมในวันที่สาม (24 เมษายน 2568) เป็นกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ• “ปริทรรศน์มรดกโลกและมรดกภูมิปัญญามนุษยชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”โดย อาจารย์ธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร • Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สอง)

“มรดกท้องถิ่นสู่มรดกโลก: การอนุรักษ์ธรรมชาติและดนตรีมังคละเพื่อมรดกมนุษยชาติ” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมวันที่สอง (23 เมษายน 2568) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ดนตรี และศิลปะพื้นบ้าน ลงพื้นที่สำรวจ “มรดกทางธรรมชาติ” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันแรก)

“เปิดมุมมองใหม่ “พุทธศิลป์เมืองสองแคว” ผ่านการเยี่ยมชมวัดเก่าแก่แห่งพิษณุโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมของวันแรก (22 เมษายนยน 2568) เป็นการนำวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านประวัติศาสตร์และศิลปะการแสดง ซึ่งให้เกียรติมาช่วยขับเคลื่อนโครงการของคณะสังคมศาสตร์ เยี่ยมชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร Read more

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/Crc4FV7nAAbrPzam6 วันที่ 24 เมษายน 2568 ห้องปราบไตรจักร 2 -309 มหาวิทยาลัยนเรศวร 09.00 – 09.40 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 09.40 – 10.00 น. พิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ 10.00 – 11.00 น. บรรยายหัวข้อ “ Read more

ขอแสดงความยินดีกับ “นายจิรายุ บำรุงพงษ์ และ นายนาวิน ส่องศรี” ในโอกาสได้รับรางวัลชมเชย การประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2567

ขอแสดงความยินดีกับ“นายจิรายุ บำรุงพงษ์และ นายนาวิน ส่องศรี”นิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 4ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร “ในโอกาสได้รับรางวัลชมเชย”การประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปีการศึกษา 2567 ประเภทที่ 5นักศึกษา CWIE ที่มีโครงงาน/ ผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ดีเด่น(Oral Presentation) ชื่อผลงาน: เคลื่อนกำลังพลชุดค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองขนาดกลาง (Medium USAR Team )สถานประกอบการ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (Department of Disaster Prevention and Mitigation)

:: ภาพกิจกรรม :: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา”

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 08.30 น.ที่ผ่านมา หน่วยทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจในประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไทย โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการทำบุญใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 5 รูป และการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยพระภิกษุสงฆ์จากวัดเสาหิน ตามด้วยการบรรยายพิเศษหัวข้อ “สงกรานต์สิบสองปันนา” โดย อาจารย์อำไพพัชญ์ จิราพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับรากฐาน ความเชื่อ และพิธีกรรมของชาวไทลื้อแห่งสิบสองปันนา ซึ่งมีความใกล้เคียงกับวัฒนธรรมไทยในหลายมิติ พร้อมกันนี้ยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีดังกล่าว Read more

ขอแสดงความยินดีกับ “คุณสิรภัทร เรืองวิริยะพงศ์” ในโอกาสได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การประกวดแต่งกายด้วยผ้าไทย “ประเภทบุคคล” ในโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ “สุขสราญ สงกรานต์ มอนอ”

ขอแสดงความยินดีกับ“คุณสิรภัทร เรืองวิริยะพงศ์”รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานกิจการนิสิตและศิษย์เก่าสัมพันธ์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒การประกวดแต่งกายด้วยผ้าไทย “ประเภทบุคคล”ในโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์ “สุขสราญ สงกรานต์ มอนอ”ประจำปี ๒๕๖๘จัดโดย กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

ขอแสดงความยินดีกับ “ดร.ปริญญา สร้อยทอง” ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิการ ปอมท.”

ขอแสดงความยินดีกับ“ดร.ปริญญา สร้อยทอง”ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวรและอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง“ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิการ ปอมท.”ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย(ปอมท.) ชุดที่ 47