รายงานการเบิกจ่ายเงิน คณะสังคมศาสตร์

ปีงบประมาณ 2547 ปีงบประมาณ 2548 ปีงบประมาณ 2549 ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2551 ปีงบประมาณ 2552 ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554 ปีงบประมาณ 2555 ปีงบประมาณ 2556 ปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ 2558 ปีงบประมาณ 2559 ปีงบประมาณ 2560 ปีงบประมาณ 2561 ปีงบประมาณ 2562 ปีงบประมาณ 2563 ปีงบประมาณ 2564 ปีงบประมาณ 2565 ปีงบประมาณ 2566 Read more

:: ภาพกิจกรรม :: วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 2568

“คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ประจำปี 2568” เมื่อวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 07.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมด้วยตัวแทนบุคลากรจากสำนักงานเลขานุการคณะสังคมศาสตร์ ได้เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อแสดงความจงรักภักดีและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผู้ทรงประกาศอิสรภาพให้กับกรุงศรีอยุธยาและทรงสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่บ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถและพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกล โดยวันที่ 25 เมษายนของทุกปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ เพื่อให้พสกนิกรไทยได้ร่วมน้อมจิตระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและสดุดีพระเกียรติคุณในฐานะมหาวีรกษัตริย์แห่งแผ่นดิน การเข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการถวายความเคารพแด่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หากยังเป็นการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังจิตสำนึกรักชาติแก่บุคลากรของคณะสังคมศาสตร์อีกด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยที่มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคมอย่างแท้จริง ภาพกิจกรรมทั้งหมด

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันสุดท้าย)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร จัดเวิร์กช็อปวางแผนเสนอ “ลิเก” ต่อยอดสู่มรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยในวันที่สี่ของโครงการ (25 เมษายน 2568) เป็นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ได้กรอบและแนวทางการเขียนเอกสารนำเสนอมรดกที่จับต้องไม่ได้ ที่เป็นวัฒนธรรมมนุษยชาติของภาคเหนือตอนล่าง คือ “ลิเก” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สาม)

“คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนโดยกิจกรรมในวันที่สาม (24 เมษายน 2568) เป็นกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ• “ปริทรรศน์มรดกโลกและมรดกภูมิปัญญามนุษยชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ”โดย อาจารย์ธราพงศ์ ศรีสุชาติ อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร • Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันที่สอง)

“มรดกท้องถิ่นสู่มรดกโลก: การอนุรักษ์ธรรมชาติและดนตรีมังคละเพื่อมรดกมนุษยชาติ” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมวันที่สอง (23 เมษายน 2568) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำคณะผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ดนตรี และศิลปะพื้นบ้าน ลงพื้นที่สำรวจ “มรดกทางธรรมชาติ” Read more

:: ภาพกิจกรรม :: โครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วันแรก)

“เปิดมุมมองใหม่ “พุทธศิลป์เมืองสองแคว” ผ่านการเยี่ยมชมวัดเก่าแก่แห่งพิษณุโลก” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 22 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะการแสดงลิเกในฐานะมรดกวัฒนธรรมที่มีรากฐานลึกซึ้งในสังคมภาคเหนือตอนล่างของไทย โดยมุ่งเน้นการรวบรวมองค์ความรู้ การวิเคราะห์บริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับลิเก ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม ผู้แสดงลิเก และชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักรู้และคุณค่าร่วมกันในการอนุรักษ์และพัฒนาลิเกให้ดำรงอยู่ในสังคมร่วมสมัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังมุ่งหวังให้ลิเกเป็นต้นแบบสุขนาฏกรรมที่สามารถยกระดับสู่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของมนุษยชาติในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะศูนย์กลางทางวิชาการที่เชื่อมโยงองค์ความรู้กับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งกิจกรรมของวันแรก (22 เมษายนยน 2568) เป็นการนำวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถด้านประวัติศาสตร์และศิลปะการแสดง ซึ่งให้เกียรติมาช่วยขับเคลื่อนโครงการของคณะสังคมศาสตร์ เยี่ยมชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร Read more

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการ NU Toastmasters Club ครั้งที่ 101

SOCSCI@NU-Thailand is inviting you to Naresuan Toastmasters Club’s 101 st meetingTheme: “Challenging Yourself”Time: thursday 24 April 2025, From 5.30 PM to 6.30 PM Hybrid Meeting via ZoomVenue: Rajapruek 1, FSS, NU Zoom Meeting ID: 827 600 6102Passcode: fssnu ————————– คณะสังคมศาสตร์ Read more

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการมรดกไทยในภาคเหนือตอนล่างสู่มรดกมนุษยชาติและมรดกโลก : กรณีต้นแบบสุขนาฏกรรม “ลิเก” ในระหว่างวันที่ 24 – 25 เมษายน 2568 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถลงทะเบียนได้ที่: https://forms.gle/Crc4FV7nAAbrPzam6 วันที่ 24 เมษายน 2568 ห้องปราบไตรจักร 2 -309 มหาวิทยาลัยนเรศวร 09.00 – 09.40 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 09.40 – 10.00 น. พิธีเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ 10.00 – 11.00 น. บรรยายหัวข้อ “ Read more

ขอแสดงความยินดีกับ “นายจิรายุ บำรุงพงษ์ และ นายนาวิน ส่องศรี” ในโอกาสได้รับรางวัลชมเชย การประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2567

ขอแสดงความยินดีกับ“นายจิรายุ บำรุงพงษ์และ นายนาวิน ส่องศรี”นิสิตสาขาวิชาพัฒนาสังคม ชั้นปีที่ 4ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร “ในโอกาสได้รับรางวัลชมเชย”การประกวดผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ดีเด่น มหาวิทยาลัยนเรศวรประจำปีการศึกษา 2567 ประเภทที่ 5นักศึกษา CWIE ที่มีโครงงาน/ ผลการปฏิบัติงานกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ดีเด่น(Oral Presentation) ชื่อผลงาน: เคลื่อนกำลังพลชุดค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองขนาดกลาง (Medium USAR Team )สถานประกอบการ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (Department of Disaster Prevention and Mitigation)

:: ภาพกิจกรรม :: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา”

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา” เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 เวลา 08.30 น.ที่ผ่านมา หน่วยทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการสืบสานประเพณีสงกรานต์พหุวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์ไทย – สิบสองปันนา” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจในประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไทย โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการทำบุญใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 5 รูป และการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยพระภิกษุสงฆ์จากวัดเสาหิน ตามด้วยการบรรยายพิเศษหัวข้อ “สงกรานต์สิบสองปันนา” โดย อาจารย์อำไพพัชญ์ จิราพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับรากฐาน ความเชื่อ และพิธีกรรมของชาวไทลื้อแห่งสิบสองปันนา ซึ่งมีความใกล้เคียงกับวัฒนธรรมไทยในหลายมิติ พร้อมกันนี้ยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีดังกล่าว Read more