พูดถึงประเพณีการรับน้อง-สารจากคณบดี ฉบับที่ 8

ประเพณีการ “ว๊ากน้อง” ได้เริ่มขึ้นในสถาบันการศึกษาในยุโรปมาเกือบ 700 ปีมาแล้ว โดยมีเป้าประสงค์เพื่อแสดงการต้อนรับนิสิตใหม่เข้าสู่รั้วของมหาวิทยาลัย เนื่องจากในสมัยนั้น นิสิตจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า นิสิตใหม่ทั้งหลาย เป็นพวกไม่มีอารยธรรม และต้องการระบบขัดเกลาใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เหมาะสม จากรุ่นพี่ที่อยู่มาก่อน และมีความคุ้นเคยกับกฏ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆดีกว่า ทั้งยังเชื่อว่า ประเพณีดังกล่าวจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางวิชาการ และกิริยามารยาทที่เหมาะสมให้แก่นิสิตใหม่ โดยประเพณีดังกล่าว ได้ถูกยอมรับ และยึดถือปฏิบัติสืบต่อมาในมหาวิทยาลัยชั้นนำในโลกหลายแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยออ๊กฟอร์ด, แคมบริดส์, ฮาวาร์ด, เยล และโรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ส

2558dt08-2

เมื่อเวลาผ่านไป ประเพณี “ว๊ากน้อง” ได้ถูกทำให้มีความเป็นสถาบัน ในแบบที่ยากที่จะยอมรับได้ ซึ่งรวมไปถึง การบังคับให้นิสิตใหม่ทำตัวเป็นคนรับใช้ของนิสิตเก่า ถูกลงโทษ บางครั้งถูกล่วงละเมิดและทำให้เจ็บช้ำน้ำใจทั้งทางจิตใจและร่างกาย หรือแม้กระทั่งการล่วงละเมิดทางเพศ การลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการกีดกันเหยียดหยาม ซึ่งประเพณีดังกล่าว ต่อมาได้นำมาสู่การกระทำที่เป็นอันตราย และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จนในที่สุด ก็ได้สูญหายไปจากสถาบันการศึกษาในยุโรปมายาวนานกว่าศตวรรษแล้ว เนื่องจากสังคมเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นประเพณีที่รุนแรง อันตรายและลดคุณค่าของนิสิตใหม่

แม้ว่า ประเพณีนี้จะถูกยกเลิกจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในยุโรปไปนานแล้ว แต่ก็ยังพบว่า มีมหาวิทยาลัยของทวีปอเมริกาเหนือและเอเซียปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง หลังจากลัทธิอาณานิคมได้สิ้นสุดลง และประเพณีดังกล่าวได้ถูกผนวกเข้ากับค่านิยมแบบเจ้าอาณานิคม และแพร่หลายเข้ามาในสถาบันการศึกษาของบรรดาประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิยมหลายแห่ง เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา และประเทศไทย ซึ่งเป็นสังคมที่ยังมีโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเข้มแข็งอยู่ หรือแม้กระทั่งในโรงเรียนประจำของบางประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิยมของอังกฤษ เช่น สถาบันการศึกษาในภูมิภาคเอเซียใต้ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอาฟริกาใต้

เพื่ออ้างชื่อในการเป็นสถาบันการศึกษาที่ทันสมัย ระบบที่เก่าแก่ เช่น ระบบการว๊ากน้อง ได้ถูกนำมาปัดฝุ่นและใช้ในโรงเรียนประจำและมหาวิทยาลัยหลายแห่งในอังกฤษ ในกรณีของประเทศไทย ระบบนี้ ถูกนำเข้ามาเป็นครั้งแรกในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง วชิราวุธราชวิทยาลัย ซึ่งต่อมาคือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ ภปร.ราชวิทยาลัย และด้วยความพยายามของนักวิชาการบางกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยการเกษตรกรรมในฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยโอเลกอน และคอแนล ในสหรัฐอเมริกา ก็ได้มีการรื้อฟื้นนำประเพณีการรับน้องในลักษณะดังกล่าวกลับมาใช้ในสถาบันการศึกษาในประเทศไทยหลายแห่ง พร้อมๆกับการบังคับให้แสดงพฤติกรรมบางประการ อาทิ การให้น้องใหม่อยู่ในสภาวการณ์ตึงเครียด การตะหวาด การทำให้อับอาย และการกีดกันเหยียดหยาม

อย่างไรก็ตาม ประเพณีการรับน้องแบบนี้ ได้สิ้นสุดลง โดยองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ประเพณีดังกล่าว เป็นรูปแบบหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชน และประกาศให้ประเพณีดังกล่าวสิ้นสุดไปจากสถาบันการศึกษา ทั้งในส่วนของการว๊าก การล่วงละเมิด และการทำให้อับอายทุกรูปแบบ โดยให้เน้นเรื่องความเท่าเทียม และการรักษาไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอุมดาศึกษา ตระหนักถึงสภาพปัยหาดังกล่าว และได้ประกาศให้ประเพณีการรับน้องในลักษณะดังกล่าว เป็นสิ่งที่ต้องยุติ และไม่ควรกระทำในสถาบันอุดมศึกษาอีกต่อไป

2558dt08-1

ในฐานะที่ดิฉันดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ดิฉันขอให้สัญญาว่า จะใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้มั่นใจว่า นิสิตใหม่ทุกคนของคณะสังคมศาสตร์ จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และด้วยความเคารพ ประเพณีการรับน้องของคณะสังคมศาสตร์ของเรา ตลอดจนกิจกรรมเชียร์ทุกรูปแบบ จะจัดให้มีขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร เอื้ออาทร สุภาพ ด้วยความรัก และความเคารพในสิทธิมนุษยชนในทุกระดับชั้นของกิจกรรม นอกจากนี้ การเชียร์ และกิจกรรมรับน้องทุกรูปแบบของคณะสังคมศาสตร์ จะเป็นไปตามความสมัครใจ โดยนิสิตใหม่ทุกคน จะมีเสรีภาพในการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามความสมัครใจโดยไม่มีการบีบบังคับ และอยู่บนพื้นฐานของมิตรภาพ ตลอดจนความเต็มใจของนิสิตแต่ละคนเป็นสำคัญ

 

ด้วยความปรารถนาดี

 

รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สิรสุนทร

คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

English Edition